ใครคือแพทย์ผู้ผ่าท้องทำคลอดเป็นคนแรกในประเทศไทย

ภาพวาด การผ่าท้องทำคลอด ใน ยุโรป
ภาพเขียนการผ่าคลอดในศตวรรษที่ 15

ในปัจจุบันนี้ การผ่าท้องทำคลอด (Caesarean section) เป็นวิธีการคลอดอีกทางหนึ่งที่สูตินรีแพทย์จะให้คุณแม่คลอดเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำหรือศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานของมารดาเป็นต้น โดยในปัจจุบันนี้การผ่าท้องทำคลอดมีความปลอดภัยสูงมาก แต่ถ้าเป็นเมื่อแรกเริ่มที่มีการผ่าท้องทำคลอด พบว่ามารดาที่ได้รับการผ่าท้องทำคลอดมีอัตราตายสูงมาก

ในการประชุมวิชาการและการประชุมสามัญประจำปีของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย บางปีมีปาฐกถาเกียรติยศหลวงไวทเยศรางกูรโดยหนังสือประกอบการประชุมของการประชุมวิชาการครั้งที่ 25 และการประชุมสามัญประจำปี .. 2553 [1] ได้เขียนประวัติของท่านว่า 

“….หลวงไวทเยศรางกูร เป็นสูตินรีแพทย์ที่เรียนจากประเทศอังกฤษตั้งแต่ .. 2452 โดยทุนของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) และได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทยราว .. 2462 และรับราชการที่โรงพยาบาลศิริราช ได้ทำคุณประโยชน์แก่วงการแพทย์ไว้หลายอย่างเช่น นำระเบียบการทำงานของพยาบาลจากอังกฤษมาใช้ อาทิเช่น ให้มีเวชปฏิบัติงานของพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นผลัดและท่านได้ทำการผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้องแม่เป็นครั้งแรก…”

อำมาตย์โท นายแพทย์หลวงไวทเยศรางกูร (เชื้อ อิศรางกูร ณ อยุธยา)

ต่อมาราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยได้จัดทำหนังสือ 40 ปี ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อ .. 2554 [2] ที่ราชวิทยาลัยฯ ได้จัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 40 ปี ของราชวิทยาลัยฯ โดยนับสืบเนื่องมาจากเมื่อครั้งเป็นสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ .. 2513 เป็นต้นมา ซึ่งภายในเล่มมีบทความการผ่าตัดคลอดรายแรกในประเทศไทยเรื่องคนมีครรภ์ราย 1 ที่ต้องผ่าเอาเด็กออกทางน่าท้องซึ่งเขียนโดย นายพันโท หลวงศักดาพลรักษ์ [3] ซึ่งต่อมาท่านได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จนได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์)

ผมของสรุปย่อๆ เกี่ยวกับบทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วยของหญิงค่อมอายุ 32 ปี ที่ได้เข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2460 โดยมีอายุครรภ์ 9 เดือน และเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์ หญิงตั้งครรภ์รายนี้มีกระดูกเชิงกรานผิดปกติ เนื่องจากเมื่ออายุ 4 ขวบ ได้ตกบันได หลังกระแทกพื้น มีอาการเจ็บที่หลัง ตั้งแต่นั้นมากระดูกสันหลังก็เลยเป็นวัณโรค   

แต่เดิมท่านวางแผนจะใช้หัตถการทำลายเด็กโดยใช้เครื่องมือเจาะสมองเพื่อให้ศีรษะทารกมีขนาดเล็กลงและสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่เนื่องจากปากมดลูกไม่เปิดขยายเพียงพอที่จะทำหัตถการทำลายเด็กดังกล่าวได้ จึงผ่าท้องทำคลอดได้ทารก 2.5 กิโลกรัม เมื่อวันที่ 15 กันยายน แต่สุดท้ายทารกมีชีวิตอยู่ได้เพียง 8 วัน ก็เสียชีวิต แต่มารดาปลอดภัยและสามารถกลับบ้านได้ ซึ่งบทความนี้ได้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารชื่อจดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยสมาคม เมื่อ .. 2461

การที่มีผู้กล่าวว่าทั้งหลวงไวทเยศรางกูรและ นายพันโท หลวงศักดาพลรักษ์ เป็นผู้ผ่าท้องทำคลอดเป็นคนแรกในประเทศไทย ก็ทำให้ผมเกิดความงุนงงเป็นอย่างยิ่งว่า จริงๆ แล้วใครกันแน่ที่เป็นผู้ผ่าท้องทำคลอดเป็นคนแรกในประเทศไทย

ผมจึงขอทำหน้าที่เป็นนักสืบประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง โดยพิจารณาจากทาง นายพันโท หลวงศักดาพลรักษ์ก่อน ก็พบว่า ท่านได้เขียนเอกสารเป็นบทความทางการแพทย์ที่ได้ลงตีพิมพ์ในจดหมายเหตุทางแพทย์ซึ่งเป็นวารสารที่เป็นทางการของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย โดยได้รับการตีพิมพ์เมื่อเดือน สิงหาคม .. 2461 [3] ว่า ท่านได้ผ่าท้องทำคลอดเมื่อเวลา 10 นาฬิกาของเช้าวันที่ 15 กันยายน (.. 2461 – ผู้เขียน) ซึ่งหลักฐานฉบับนี้มีความเชื่อถือได้สูงมาก เนื่องจากมีการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นกิจจะลักษณะต่อประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ก็ยังมีเอกสารสำคัญที่เป็นบทความทางวิชาการอีก 2 ชิ้นซึ่งถูกรวบรวมไว้ในหนังสือ 40 ปี ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ยืนยันสนับสนุนการมีอยู่จริงของเอกสารดังกล่าวอีกชั้นหนึ่งด้วย

เอกสารชิ้นแรก : . นพ. ธีระ สุขวัจน์ ได้เขียนเป็นบทความเรื่องประวัติการสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาของเมืองไทยในจดหมายเหตุทางแพทย์ฉบับพิเศษ 2518 ของสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย [4] ดังนี้

“…ส่วนเรื่องงานทางการรักษาคนไข้ทางโรคเฉพาะสตรีและทางสูติกรรมก็ได้เจริญขึ้นตลอดตั้งแต่เริ่มตั้งโรงพยาบาลของสภากาชาด ผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างวิวัฒนาการนี้ก็คือพระยาดำรงแพทยคุณ (ครั้งยังเป็น ..หลวงศักดิ์พลรักษ์) ถ้าว่าตามหลักฐานละก็ต้องเป็นศัลยแพทย์คนแรกที่ตีพิมพ์เรื่องการผ่าหน้าท้องเอาเด็กออกครั้งแรกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อ .. 2460…”     

เอกสารชิ้นที่ 2 : บทความนี้ ผมได้นำมาจากบทความเรื่องประวัติของการสูตินารีเวชศาสตร์ไทย (บางส่วน)” [5] โดย พล.. ผ่อง มีคุณเอี่ยม ที่คัดลอกมาไว้ในหนังสือ 40 ปี ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อ .. 2554 [2]

อีกทีหนึ่ง โดยเขียนว่าได้คัดลอกบทความนี้มาจากจุลสารสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 3 เล่มที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 . 52-54 (น่าจะมีความผิดพลาดเรื่อง .. …. เนื่องจากสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นวิทยาลัยสังกัดแพทยสภา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2530 และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2536

ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่มีจุลสารสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อกุมภาพันธ์ .. 2546 ผมคิดว่าที่ถูกต้องน่าจะเป็น .. 2526 – ผู้เขียน) ซึ่งได้จากการบรรยายในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 21 ของสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 26 มิถุนายน 2525 มีความตอนหนึ่งว่า

“…ครั้น วันที่ 6 เมษายน .. 2460 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอกรมขุนไชยนาทนเรนทร [น่าจะผิดเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เป็นพระบรมเชษฐาของกรมขุนไชยนาทนเรนทร เนื่องจากทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2423 แต่กรมขุนไชยนาทนเรนทร ประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2428 – ผู้เขียน] ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและในยุคนี้เองเราได้พลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) เป็นอาจารย์ผู้หนึ่งในคณะแพทยศาสตร์ซึ่งจะได้ปรากฏในบทความเรื่อง การผ่าตัดเซซาเรียนเซกชั่น [การผ่าท้องทำคลอดผู้เขียนรายแรกของเมืองไทยอันได้นำรีปริ้นจากจดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยสมาคม สมัย .. 2461 ซึ่งมีอยู่ในสูจิบัตร การประชุมใหญ่ครั้งนี้แล้ว…”

ส่วนเอกสารหลักฐานที่สนับสนุนว่าคุณหลวงไวทเยศรางกูรเป็นผู้ทำการผ่าท้องทำคลอดเป็นครั้งแรกในประเทศไทยมีเพียงเอกสารประกอบการประชุมของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งไม่ได้แจ้งเอกสารอ้างอิงไว้ โดยมีข้อความดังนี้

“…ในด้านวิชาการ นายแพทย์ หลวงไวทเยศรางกูร ได้ทำการผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง (Caesarean) เป็นครั้งแรกและปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก ทำให้ประชาชนหันมานิยมแพทย์แผนปัจจุบันและมารับการคลอดตามแผนปัจจุบันมากขึ้น (สมัยนั้นนิยมให้หมอตำแยทำคลอด)…” [1]

แต่หากพิจารณาตามช่วงเวลาของ การผ่าท้องทำคลอด ที่อ้างถึงนี้ ก็น่าจะหลังจาก .. หลวงศักดาพลรักษ์ ซึ่งผ่าท้องทำคลอด เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2461 เพราะหลวงไวทเยศรางกูรเดินทางกลับจากการศึกษาที่ประเทศอังกฤษมาถึงประเทศไทยราว .. 2462 [1]  

พ.ท. หลวงศักดาพลรักษ์ (ชื่น พุทธิแพทย์) ท่านได้เลื่อนยศบรรดาศักดิ์สุดท้ายเป็น พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ

ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่หลวงไวทเยศรางกูรจะผ่าท้องทำคลอดผู้ตั้งครรภ์รายแรกในประเทศไทยก่อน .. หลวงศักดาพลรักษ์ ในการเขียนเรื่องใครเป็นผู้ผ่าท้องทำคลอดเป็นคนแรกในประเทศไทยนี้ โดยส่วนตัวผมมีความเคารพนับถือหลวงไวทเยศรางกูรในฐานะท่านเป็นบูรพาจารย์ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาและไม่มีอคติอะไรต่อท่านแต่ประการใดเลยเพียงแต่ผมต้องการค้นหาความถูกต้องของข้อมูลทางวิชาการเท่านั้น

โดยสรุป จากเอกสารหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นที่น่าเชื่อว่า นายพันโท หลวงศักดาพลรักษ์ (ชื่น  พุทธิแพทย์) เป็นแพทย์ผู้ผ่าท้องทำคลอดเป็นคนแรกในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เอกสารอ้างอิง :

[1] ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. หนังสือประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 25 และการประชุมสามัญประจำปี 2553 เนื่องในวาระครบรอบ 40 ปี ราชวิทยาลัยนรีแพทย์แห่งประเทศไทย 2553.

[2] วิทยา ถิฐาพันธ์, สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์, สุวชัย อินทรประเสริฐ, บรรณาธิการ. 40 ปี ราชวิทยาลัย สูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย .. 2513-2553. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี, 2554.

[3] ศักดาพลรักษ์, พันโทหลวง. คนมีครรภ์ราย 1 ที่ต้องผ่าเอาเด็กออกทางน่าท้อง .... เดือนสิงหาคม 2461.

[4] ธีระ สุขวัจน์. ประวัติการสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาของเมืองไทย .... ฉบับพิเศษ 2518.

[5] ผ่อง มีคุณเอี่ยม. “ประวัติการสูตินารีเวชศาสตร์ไทย (บางส่วน),” ในจุลสารสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 3 เล่มที่ 1 (กุมภาพันธ์ 2526).


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 มิถุนายน 2563