ระหัด เครื่องวิดน้ำภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ระหัดวิดน้ำ ในยุคหลังที่มีการพัฒนาใช้เครื่องยนต์แทนแรงงานคน

ในอดีตทั้งการประกอบอาชีพ และการตั้งถิ่นของคนไทยมักจะยึดเส้นทางของแม่น้ำลำคลองเป็นสำคัญ เพราะต้องการใช้ในการอุปโภคและบริโภค ต้องการใช้ลำน้ำเป็นเส้นทางในการคมนาคม แต่ “น้ำ” ก็ไม่ได้มีปริมาณตามที่ต้องการ หรือไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการใช้สอย จนกบางครั้งก็กลายเป็นน้ำท่วมก็มี การจัดการน้ำในรูปแบบต่างๆ จึงเกิดขึ้น พร้อมกับเครื่องมือแบบต่างๆ

ที่คุ้นเคยกับในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น “ท่อพญานาค” แต่ถ้าเป็นในอดีตก็ต้องเป็น “ระหัดวิดน้ำ”

การวิดน้ำเป็นการนำน้ำเข้าหรือออกจากแหล่งน้ำ พจานุกรมฉบับมติชน อธิบายไว้ว่า “วิด ก.ทำให้น้ำพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด”

“ระหัด” เป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาเครื่องวิดน้ำไปอีกระดับหนึ่ง ระหัดเป็นเครื่องวิดน้ำอย่างหนึ่งเป็นรางทำจากไม้ การใช้ระหัดในระยะแรกใช้แรงงานคนโดยใช้เท้าถีบหรือมือหมุน ต่อมาใช้เครื่องจักรเป็นฉุดแทนด้วยเครื่องจักรแทน ระหัดสามารถ “วิดน้ำ” จากที่หนึ่งให้ไหลไปอีกที่หนึ่งได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้วิดน้ำได้ มากกว่าโพงหรือชงโลง (ที่ทําด้วยไม้ขุด หรือสานด้วยไม้ไผ่ให้มีรูปร่างคล้ายช้อนมี ด้ามยาว)

เรื่องเกี่ยวกับระหัดนี้ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ เขียนไว้ในบทความชื่อว่า “เครื่องวิดน้ำพื้นบ้าน” (ศิลปวัฒนธรรม, มีนาคม 2540 ) ดังนี้

มนุษญ์ประดิษฐ์ระหัดขึ้นตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด และไม่มีหลักฐานที่จะค้นคว้าหรืออ้างอิงได้แน่นอนว่า คนไทย ใช้ระหัดมาแต่สมัยใด คําว่า “ระหัด” ที่ปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของ ดร.แดนนิช แบรดเลย์ หรือหมอบรัดเลย์ที่พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2416 เขียนว่า “ระหัศ อย่างหนึ่ง เป็นของเครื่องใช้บีบเยื่อฝ้ายให้เล็ดออกเสีย นั้น, อย่างหนึ่งเป็นเครื่องวิดน้ำเข้านา”

จากหลักฐานดังกล่าวนี้แสดงว่า ระหัดเป็นเครื่องวิดน้ำที่คนไทยใช้กันมาร้อยปีเศษแล้ว

แนวคิดในการประดิษฐ์ระหัดน่าจะมาจาก “กังหันน้ำ” ที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน ระหัด กังหันน้ำเป็นเครื่องวิดน้ำหรือเครื่องชักน้ำคล้ายกับระหัด ใช้ตักน้ำหรือชักน้ำที่อยู่ในระดับต่ำขึ้นมายังที่สูง โดยใช้กระแสน้ำหมุนวงล้อขนาดใหญ่ที่ทําด้วยไม้ มักจะตั้งไว้ริมตลิ่งที่มีน้ำไหล ให้ขนาดของวงล้อใหญ่สูงกว่าระดับตลิ่งเพื่อให้น้ำไหลลงไปตามรางรับน้ำที่ทอดไปสู่บริเวณที่ต้องการน้ำ บนขอบของวงล้อมีภาชนะสําหรับตักน้ำ อาจจะเป็นกระบอกไม้ไผ่ติดเรียงกันไว้เป็นระยะๆ

เมื่อกระแสน้ำพัดให้วงล้อหมุน กระบอกน้ำหรือภาชนะสําหรับตักก็จะตักน้ำขึ้นไปและเทลงในรางรับน้ำที่ติดไว้ด้านบน กระบอกน้ำจะตักน้ำขึ้นไปและเทน้ำลงในรางรับน้ำเรียงกันไปอย่างต่อเนื่อง ทําให้น้ำไหลไปตามรางน้ำไม่ขาดสาย กังหันน้ำจะตักน้ำหรือชักน้ำให้ไหลตามรางไปยังบริเวณที่ต้องการน้ำด้วยพลังน้ำได้เท่าที่ต้องการ

โดยไม่ต้องใช้พลังงานอื่นช่วยกังหันน้ำจึง เป็นเครื่องวิดน้ำโบราณที่เกิดจากความคิด ในการใช้พลังงานจากธรรมชาติที่แยบยลอย่างหนึ่ง กังหันน้ำในสมัยโบราณมักใช้กันในบริเวณริมแม่น้ำโขง และแม่น้ำปิงในภาคเหนือ

ผู้ที่คิดสร้างระหัดอาจจะได้แนวความคิดมาจากกังหันน้ำดังกล่าวก็เป็นได้ โดยเฉพาะลักษณะการตักน้ำของกระบอก น้ำหรือภาชนะตักน้ำขึ้นแล้วเทลงในรางรับน้ำที่ต่อเนื่องนั้น อาจทําให้เกิดความคิดว่า หากประดิษฐ์สิ่งที่มีลักษณะคล้ายที่วักน้ำ เพื่อดันน้ำเข้าไปในรางอย่างต่อเนื่องได้ ก็จะสามารถ “วิดน้ำ” หรือ “ชักน้ำ” จากแหล่งน้ำให้ไหลไปตามรางได้เช่นเดียวกัน จากแนวคิดนี้ จึงเป็นไปได้ว่า ผู้ประเดิษฐ์ระหัด จึงเปลี่ยนจากภาชนะสําหรับตักน้ำหรือ กระบอกน้ำมาเป็น “ลูกระหัด” ที่มีลักษณะแบนเพื่อดันน้ำเข้าไปตามรางแทนการตักไปเทลงรางแทนกระบอกน้ำของกังหันน้ำ จนประดิษฐ์ระหัดขึ้นใช้เป็นผลสําเร็จ

ระหัดพื้นบ้านหรือระหัดแบบดั้งเดิมนั้น เป็นระหัดขนาดเล็กที่เรียกว่า “ระหัดมือ” ทําด้วยไม้เป็นโครงสี่เหลี่ยมขนาด ประมาณ 25 X 35 เซนติเมตร ยาว ประมาณ 3 เมตร หรือ 6 ศอก (ก) ภายใน โครงด้านล่างทําเป็นรางด้วยแผ่นไม้บาง ๆ หัวและท้ายมี กงระหัด ทําด้วยไม้คล้ายดุมเกวียน มีกงไม้แบน ๆ ฝังอยู่ 6 อัน (ข.ค) มีลูกระหัด ทําด้วยแผ่นไม้ (ขนาดประมาณ 15 X 20 เซนติเมตร) สอดขวางอยู่กับ แกนไม้ที่มีลักษณะเหมือนโซ่รถจักรยาน (ง) ซึ่งเกี่ยวกันเป็นช่วงๆ คล้องกงระหัดทั้งหัวและท้าย ส่วนหัวของระหัดจะมีแกนเหล็กที่โค้งงอกลับกันเหมือนบันไดรถจักรยาน (จ) ปลายเหล็กนี้อาจทําเป็นที่สําหรับใช้มือผลัก ให้แกนกงระหัดหมุนไปคล้ายการถีบจักรยาน เพื่อทําให้ลูกระหัดเคลื่อนที่ตามกันไปอย่าง ต่อเนื่องชักน้ำเข้ามาในรางแล้วไหลออกไปที่ ด้านหัวระหัดได้ตามต้องการ

ส่วนประกอบต่างๆของระหัดมือ

การหมุนระหัดชนิดนี้อาจจะใช้เท้าถีบให้กงระหัดหมุนดังกล่าวแล้ว หรืออาจจะใช้ไม้ทําเป็นคันชักสําหรับใช้มือหมุนระหัด

ส่วนประกอบและการทํางานของ ระหัดเป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนประกอบต่างๆ ทําด้วยไม้แทบทั้งสิ้น ส่วนการหมุนระหัดก็ใช้แรงคนถีบด้วยเท้าหรือ หมุนด้วยมือให้ลูกระหัดเคลื่อนที่ตามกันไป อย่างต่อเนื่อง เพื่อชักน้ำเข้าไปในรางระหัด แล้วไหลออกตากรางระหัดอีกด้านหนึ่ง

การวางระหัดจะต้องไม่วางให้ชันมากนัก เพราะถ้าวางระหัดชันมากเกินไป หรือหากวางระหัดให้ระดับหัวและท้านของระหัดสูงต่ำต่างกันมากไป จะทำให้ระหัดหนักต้องใช้แรงหมุนมากจนเกินกำลังึนอาจจะหมุนไม่ไหว สิ่งเหล่านี้ทำให้ระหัดเป็นเครื่องวิดน้ำหรือเครื่องชักน้ำที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ไม่สามารถวิดน้ำตาหแหล่งน้ำไปที่ซึ่งมีระดับต่างกับแหล่งน้ำมากๆ ได้ เหมือนเครื่องสูบน้ำในปัจจุบัน นอกจากนี้ ระหัดมือหรือระหัดพื้นบ้านยังต้องใช้แรงคน ไม่สามารถทํางานได้นาน ถึงกระนั้น ระหัดมือที่เกิดขึ้นจากความคิดในการประดิษฐ์ของคนไทยอาจจะเป็นต้นกําเนิดของเครื่องวิดน้ำและเครื่องสูบน้ำในยุคต่อๆ มา

ระหัดยุคหลังที่ใช่เครื่องยนตืเป้นตัวฉุด และมีรางขนาดใหญ่ขึ้น

จากข้อจํากัดของระหัดมือที่ คือ ต้องใช้แรงคนซึ่งไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยาวนานเหมือนพลังงานจากธรรมชาติหรือพลังงานอื่นๆ ทำให้มัผู้นํากังหันลมมาเป็นพลังงานฉุดระหัดแทนแรงคน โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ทะเลที่มีลมแรงจึงมีผู้นํากังหันลมมาฉุดระหัดแทนแรงคน เช่น กังหันลมสําหรับจุดระหัดในนาเกลือบริเวณจังหวัดสมุทรสาคร สมุทร สงคราม นอกจากการนําพลังงานธรรมชาติ มาใช้กับระหัดแล้ว ชาวบ้านยังขยายขนาดระหัดให้ใหญ่และยาวมากขึ้น เพื่อให้ชักน้ำได้มากและไปไกลกว่าระหัดมือ

ต่อมาเมื่อมีเครื่องยนต์จากประเทศตะวันตกเข้ามาใช้ในประเทศไทย จึงมีผู้นําเครื่องยนต์มาใช้ฉุดระหัด ทําให้ใช้ระหัดวิด น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประหยัดน้ำมันและใช้ได้ทน เกษตรกรนิยม นํามาใช้ฉุดระหัดกันมาก ระหัดจึงเป็นเครื่องวิดน้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งใน กลุ่มชาวนา เพื่อใช้ระพัดสําหรับวิดน้ำเข้านา หรือวิดน้ำออกจากนา และชาวสวนที่ใช้ระหัดวิดนําเข้าสวนหรือวิดน้ำออกจากร่อง สวนเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมาก่อนที่จะเครื่องสูบน้ำใช้ ระหัดเป็นเครื่องวิดน้ำที่ใช้กัน แพร่หลายของเกษตรกรไทย

ดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าเครื่องวิดน้ำพื้นบ้านของไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลําดับ ตามกําลังความคิด และความสามารถของ คนไทย ระหัดเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ชาวบ้านคิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้สามารถใช้สอย ได้ดีที่สุดตามสภาพความเป็นอยู่และสภาพ แวดล้อมของท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกหัตถกรรมของ ไทยที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญา ของคนไทยได้อย่างหนึ่ง


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์เมื่อ 2 กันยายน 2562