ขงเบ้งใช้วิชาอะไร? เรียกลมจนเป็นฝ่ายชนะในศึก “ผาแดง”

จิตรกรรม สามก๊ก วิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศ

ใน “สามก๊ก” ตอนศึกเซ็กเพ็ก หรือศึกผาแดง (ที่จอนห์ วู นำมาทำเป็นภาพยนต์ใช้ชื่อว่า สามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ) กุนซือและแม่ทัพหลายคนสำคัญที่แสดงฝีมือในการศึกครั้งนี้ต้องยกแครดิตให้ จิวยี่, อุยกาย และขงเบ้ง แต่ภาพขงเบ้งสร้าง “ศาลาเจ็ดดาว” ทำพิธี “เรียกลม เรียกฝน” ดูจะติดตาตรึงใจผู้คนที่อ่าน/ดู สามก๊กไม่น้อยที่เดียว

กุนซือย่าง”ขงเบ้ง” จึงดุจดั่งเทพเซียนผู้ปราดเปรื่อง และล่วงรู้ฟ้าดิน

แน่นอนว่า งานวิชาการชั้นหลังมีขออธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นว่านี้ไม่ใช่ไสยศาสตร์ แต่เป็นความรู้เรื่องดินฟ้าอากาศ เรื่องภูมิศาสตร์ เรื่องโหราศาสตร์ที่ขงเบ้งรอบรู้ต่างหาก พล.ต.ต.สุชาติ เผือสกนธ์ ก็เป็นท่านหนึ่งที่อธิบายเรื่องนี้ไว้ในบทความชื่อ “ขงเบ้ง เชิญเทพยดาให้เรียกลม มาเผาทัพเรือโจโฉได้จริงหรือ?” (เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม, เมษายน 2538) ซึ่งของคัดย่อบางส่วนมานำเสนอ ณ ที่นี้

บทความเรื่องนี้ ผมได้เขียนขึ้นโดยการนํา เอาวิชาการโหราศาสตร์ดวงดาวมาคํานวณย้อนหลัง กลับไปนานกว่า 17 ศตวรรษ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า วิชาการแขนงนี้มิใช่ศาสตร์ที่เหลวไหล หลอกลวง ปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบอาชีพหมอดูจํานวนไม่น้อยได้นําเอาวิชาโหราศาสตร์แขนงต่างๆ มาเป็นเครื่องมือหากิน โดยที่ตนเองมิได้ศึกษาศาสตร์นี้ ให้รู้สึกซึ่งแตกฉามอย่างแท้จริง จึงทํานายผิดพลาดเป็นเหตุให้ศาสตร์นี้เสื่อมไปโดยปริยาย ผมได้ศึกษาค้นคว้าวิชาการแขนงนี้ มานานกว่า 40 ปี จึงได้มีความรู้มากพอสมควร และยอมรับความจริงว่าโหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งสามารถนํามาประยุกต์กับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ ได้ ทุกโอกาสเวลา

เมื่อดูชื่อของบทความนี้แล้วค่อนข้างจะยาว เป็นพิเศษ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง “สามก๊ก” ตอน “เผาทัพเรือโจโฉ” ท่านที่ได้ชมภาพยนตร์ตอน นี้ หรือเคยอ่านเรื่องราวมาแล้วคงจะจําได้ว่า เล่าปี่โดยขงเบ้ง ได้ร่วมกับซุนกวนโดยจิวยี่วางแผนเผา ทัพเรือของโจโฉซึ่งมีกําลังมหาศาลที่เข้ามาประชิดเมืองเกงจิ๋ว โดยขงเบ้งเป็นผู้ทําพิธีเชิญเทพยดามาดลบันดาลให้ลมพัดเปลี่ยนทิศทางต้นลมจากด้านกองทัพเรือโจโฉมาอยู่ทางด้านกองทัพจิวยี่ แทนได้อย่างน่ามหัศจรรย์ จิวยี่จึงสามารถเผาทัพ เรือโจโฉได้โดยอาศัยแรงลมที่เปลี่ยนทิศนี้เองจนสําเร็จ

ผมเชื่อว่าคงจะมีท่านผู้ชมอีกจํานวนไม่น้อย ที่ยังกังขาอยากทราบว่า ข้อเท็จจริงของตอนนี้เป็น อย่างไร เป็นเรื่องจริงอิงนิยาย? หรือเป็นเรื่องอภินิหารของคนโบราณ ซึ่งผู้บันทึกจดหมายเหตุและ พงศาวดารมักนิยมแต่งเติมเสริมความให้เป็นที่น่า เลื่อมใสของคนรุ่นหลัง

หนังสือเรื่อง “สามก๊ก” ฉบับเจ้าพระยาพระ คลัง (หน) ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ไว้ว่า

สามกุนซือชื่อดังในสามก๊ก

“..ขงเบ้งรับเอากระบี่แล้วพาโลซกและทหารทั้งปวงไป ณ เขาลําปินสาน แล้วทําเป็นดูภูมิที่ ให้ทหารปลูกร้านสามชั้น สูงชั้นละสามศอกเศษ ชั้นต้นนั้นกว้างยี่สิบวา ยาวยี่สิบวา แล้วให้ขุดเอาดิน ทิศอาคเนย์มาปั้นเป็นรูปมังกร…

ฝ่ายขงเบ้งเมื่อเดือนอ้าย แรมสามค่ำ เวลาเช้าก็อาบน้ำชําระกาย แต่งตัวใส่เสื้อบงเฉียง สยายผม แล้วจึงว่าแก่ทหารทั้งปวงว่า บัดนี้เราจะทําการใหญ่ แต่บรรดาทหารซึ่งเราจัดไว้นี้ ถ้าเห็นเราทําประการใดก็อย่าให้พูดจาเดินไปจากที่นี่ ให้นิ่งปกติอยู่กว่าเราจะสําเร็จ แม้ผู้ใดไม่ฟังเราจะเอากระบี่อาญาสิทธิ์ซึ่งจิวยี่ให้มานี้ตัดศีรษะเสีย ครั้นกําชับทหารแล้วขงเบ้งก็ขึ้นไปบนร้านชั้นบน จึงจุดธูปเทียนขึ้นบูชาแล้วทํานั่งอ่านมนตร์เรียกลมอยู่ ครั้นเวลาอันสมควรแล้วก็พาทหารทั้งนั้นลงมาอาบ น้ำกินอาหารแล้วก็กลับขึ้นไปทําการอยู่ดังเก่า…

…เวลาเช้าจนรุ่งก็มิได้เห็นลมพัดกลับไป จิวยี่จึง (กล่าว) แก่โลซกว่า ขงเบ้งนั้นไปทําการวันกับคืนหนึ่งแล้วก็มิได้มีลมสลาตัน โลชกจึงว่า ขงเบ้ง ทํานั้นเห็นจะได้การอยู่ ครั้นพูดกันดังนั้นแล้วก็ชวนกันคอยดูตั้งแต่เช้าจนเวลาสองยามเศษจึงได้ยินเสียงอื้ออึงข้างทิศอาคเนย์ จิวยี่จึงพาโลซกออกมาดูกลางแจ้งก็มิได้เห็นลมว่าวและลมตะวันตกพัดมาสงบ เป็นปกติอยู่ อีกสักครู่ลมสลาตันก็พัดหนักมา จิวยี่ก็มีความยินดีแล้วว่าแก่โลซกว่า อันสติปัญญา ขงเบ้งรู้ตําราเรียกลมในอากาศหาผู้ใดเสมอมิได้ อุปมาดังจะนับดาวในท้องฟ้าและหยั่งพระมหาสมุทรอันลึกได้…

ประเด็นที่จะได้หยิบยกมากล่าวต่อไปก็คือ ขงเบ้งสามารถอัญเชิญเทพยดามาเพื่อขอให้ช่วย เปลี่ยนทิศทางลมให้ได้จริงหรือ? ถ้าไม่จริง ขงเบ้งทราบล่วงหน้าได้อย่างไรว่า ลมจะมีการเปลี่ยนทิศ จึงกล้าอาสากระทําการโดยเอาชีวิตของตนเป็นประกัน?

หากเป็นยุคสมัยนี้ เรื่องการพยากรณ์ล่วงหน้าว่า ลมพายุจะมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดด้วยความเร็วเท่าใดนั้น สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เนื่องจากมีเครื่อมือที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยช่วยตรวจสอบ และมีการประงานงานระหว่างหน่วยอุตุนิยมต่างๆ ทั่วโลก เว้นแต่ในกรณีที่พายุนั้นเกิดขึ้นโดยฉับพลันมิได้คาดคิดทราบล่วงหน้ามาก่อน ตามความในเรื่อง “สามก๊ก” ตอนนี้ ก็จะเห็นได้ชัดว่า มิได้มีวี่แววว่า ลมจะมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางได้โดยฉับพลัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้โจโฉเกิดความประมาทไม่ยอมรับฟังคำท้วงติงของบรรดาที่ปรึกษาจนเกิดการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงในครั้งนี้

เรื่องการอัญเชิญเทพยดาให้มาช่วยเหลือ นั้นดูจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ผู้แปลเรื่องนี้ก็ยัง ใช้ข้อความบางตอนไว้ในเอกสารอ้างอิงข้างต้นว่า “…แล้วทําเป็นดูภูมิที่ให้ทหารลูกร้านสามชั้น…” บ้าง “…จึงจุดรูปเทียนขึ้นบูชาแล้วทํานั่งอ่านมนต์ เรียกลมอยู่…” บ้าง ซึ่งถ้าแปลเป็นไทยๆ ก็คือ ขงเบ้งแสร้งกระทํา เพราะไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ นอกจากนี้ ท่านผู้ชมอีกจํานวนไม่น้อย โดยเฉพาะท่านที่เคยหรือกําลังศึกษาวิทยาศาสตร์ก็คงจะ ความเห็นสอดคล้องกันว่า เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระเช่นกัน

สําหรับประเด็นนี้ ผมมีความเห็นเป็นการส่วนตัวว่า ขงเบ้งเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีไหวพริบปฏิภานปราดเปรื่อง ทั้งยังมีความรู้ในไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ อีก หลายสาขาเหนือบุคคลทั่วไป การที่บุคคลจะมีขีด ความสามารถเป็นขงเบ้งนี้จะต้องมี “พรสวรรค์” มาแต่ดั้งเดิม ทั้งจะต้องเป็นผู้ที่มีสมาธิสูงส่งที่ช่วยสิ่งเสริมให้เจ้าตัวมีปัญญาเฉียบแหลมเป็นเยี่ยม สอดคล้องกับคําสอนของพระพุทธองค์เรื่อง คือ “ศีล สมาธิ ปัญญา” การมีสมาธิสูงในลักษณะนี้ จึงทําให้น่าเชื่อว่า ขงเบ้งสามารถติดต่อกับพลังเร้นลับที่เรียกกันว่า “พลังพรหมหรือพลังเทพ” ได้ แต่จะแรงเพียงพอที่จะใช้พลังเหล่านี้มาเรียกลมพายได้หรือไม่เพียงใด นั้นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ทราบได้ยาก เพราะศาสตร์แขนงนี้เป็นศาสตร์ที่จะศึกษาหรือปรากฏผลให้เห็นได้ เป็นการเฉพาะบุคคล มิใช่ศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ ความเป็นไปได้ให้ปรากฏเป็นหลักฐานที่ใช้อ้างอิง หรือเขียนเป็นบทเรียนให้บุคคลทั่วไปศึกษากันเช่นศาสตร์แขนงอื่นๆ ได้

หากมิใช่เป็นเช่นประเด็นแรก คําถามต่อมาก็คือ “ขงเบ้งใช้ศาสตร์อะไรในการทําพิธีครั้งนี้?” ทั้งที่ในยุคสมัยนั้นวิชการทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ในกิจการอุตุนิยมวิทยาก็ยังไม่ทันสมัยเช่นปัจจุบันนี้?

ประเด็นนี้ ผมขอตอบแทนขงเบ้งให้เลยว่า ใช้วิชาการโหราศาสตร์ดวงดาวที่ขงเบ้งได้ว่าเรียนมานั่นเอง ขงเบ้งเคยกล่าวกับโลชกว่า “ผู้ที่จะเป็นผู้นํา ทัพที่ดีจําเป็นต้องศึกษาทั้งเวทมนตร์คาถา และ โหราศาสตร์ประกอบด้วย”

คําตอบของผมที่ตอบแทนขงเบ้งนั้นมิใช่ เป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ เพราะสามารถนําเอาวิชาการโหราศาสตร์ดวงดาวที่ผมได้ศึกษาค้นคว้าเป็นเวลานานมาพิสูจน์ยืนยันกันได้ ดังจะกล่าว

จากการคํานวณอนหลังกลับไปจนถึงวันที่ขงเบ้งได้ทําพิธีเชิญเทพยดามาเพื่อขอให้ลมพายุพัด เปลี่ยนทิศทางไปเผากองทัพเรือโจโน เพื่อตรวจสอบหาจุดที่ตั้งของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ ตาม หลักวิชาโหราศาสตร์ดวงดาว ได้ผลเป็นที่น่าเชื่อว่า

วันที่ขงเบ้งเริ่มทำพิธีเรียกลม ซึ่งหนังสือสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้ระบุว่า เป็นเดือนอ้าย แรมสามค่ำ นั้นน่าจะตรงกับวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 207 ( หรือย้อนหลังไปประมาณ17 ศตวรรษ) และวันที่บรรลุผลเกิดลมพายุขึ้นคือ วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 207 เวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้ว เมื่อได้วางจุดที่ตั้งของดาวเคราะห์ต่างๆ ในวันเวลานั้นไว้ในดวงจะได้ดังที่แสดงไว้ในภาพ

ตามดวงที่ผมได้คำนวณและผูกไว้นี้ มีดาวเสาร์สถิตอยู่มในราศีมิถุน ซึ่งเป็นราศีธาตุลมประการหนึ่ง ดาวพฤหัสบดีสถิตอยู่ในราศีกุมภ์ซึ่งเป็นราศีธาตุลมเช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีดาวอังคารสถิตอยู่ราศีธนูร่วมทับดาวราหูเกือบสนิท ดาวอังคาร และดาวราหูนี้ตามตำรามหาทักษาไทยกล่าวว่า เป็นดาวคู่ธาตุลม ดาวทั้งหมดในกลุ่มนี้มีเชิงมุมองศาถึงกันทั้งสิ้น กล่าวคือดาวเสาร์เล็งดาวอังคารร่วมกับดาวราหูประมาณ 180 องศา และทำมุมประมาณ 120 องศา (ตรีโกณ)  กับดาวพฤหัสบดี

ปรมาจารย์ทางโหราศาสตร์อินเดีย ท่านหนึ่งคือ B.V. Raman ได้กล่าวถึงอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ที่มีต่อดินฟ้าอกาศของโลกไว้เป็นสาระว่า “…ลมทิศตะวันตกเฉียงใต้จะมีความรุนแรงในกรณีที่ดาวเสาร์ หรือดาวอังคาร สถิตอยู่ในราศีมิถุน ราศีตุล หรือราศีกุมภ์ ราศีใดราศีหนึ่ง และดาวพระเคราะห์ทั้งสองโคจรมาเล็งกัน หรือทำมุม 90 องศาแก่กัน…ดาวเสาร์จะมีอิทธิพลต่อลมมรสุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ดาวพฤหัสบดีมีอิทธิพลต่อลมทิศตะวันตกเฉียงใต้…หากดาวดวงใดสถิตในราศีธาตุลมด้วยแล้วจะส่งผลในเรื่องทิศทางได้แน่นอนขึ้น…” ( Planetary Influences on Human Affairs by B.V. Raman)

จะเห็นได้ว่า จุดที่ตั้งของดาวพระเคราะห์ทั้งสามคือ ดาวเสาร์ ดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี สถิตอยู่ในราศี และทำมุมถึงกันตรงตามตามราที่ท่าน B. V. Raman ได้กล่าวไว้ นอกจากนี้ดาวอังคารยังอยู่ร่วมทับทันองศาของดาวราหูซึ่งเป็นคู่ธาตุลมอีกด้วย

ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาเลยที่ในช่วงเวลาที่ขงเบ้งทําพิธีขอให้เทพยดาดลบันดาลให้ลมพายุพัดไปทางทิศตะวันตก ทั้งที่ในฤดูกาลนั้นควรจะมีแต่ลมทิศตะวันออกทางเดียวดังที่โจโฉได้กล่าวไว้แก่บรรดากุนซือของตนก่อนหน้านั้น ที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้จึงช่วยส่งเสริมคําพยากรณ์ให้แน่นแฟ้นได้เลยว่า จะบังเกิดลมพายุรุนแรงพัดจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือของโจโฉ ดังนั้น เมื่อจิวยี่เทราดน้ำมันลงไปในแม่น้ำแล้วจุดไฟ ลมพายุที่เกิดขึ้นจึงช่วยทําให้เพลิงลุกลามไปเผากองทัพเรือของโจโฉซึ่งถูกตรึงไว้ด้วยโช่ โดยเพทุบายของฝ่ายจิวยจนพินาศสิ้น

ด้วยเหตุผล ทางโหราศาสตร์ดวง ดาวที่ปรมาจารย์ชาติต่างๆ ได้ประมวล รวบรวมไว้เป็นสถิติ พยากรณ์มาเป็นพัน ๆ ปี จึงน่าจะสรุปได้ว่า ปัจจัยสําคัญที่ขงเบ้งได้นํามาประยุกต์ใช้ ในการเรียกลมพายุมาหนุนเพลิงที่จุดขึ้นให้ไปเผากองทัพเรือของโจโฉนั้น คือ วิชาโหราศาสตร์ ดวงดาวที่ขงเบ้งได้ศึกษามาเช่นกันนี้เอง ส่วนเรื่องการใช้สมาธิ ในการติดต่ออัญเชิญเทพยดามาช่วยนั้นคงจะมีส่วนอยู่บ้างเพื่อผลทางจิตใจของตนเอง และผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 5 สิงหาคม 2562