บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎวัดราชประดิษฐ จากคติพระอินทร์ ถึง “สัญลักษณ์”ร. 4

บุษบกยอดมุงกฎธรรมาสน์ในการเปรียญวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎใน “การเปรียญ” วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ศาสนวัตถุที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นงานประณีตศิลป์ชิ้นเอกของวัดราชประดิษฐฯ แต่กลับซ่อนตัวหลีกเร้นสายตาผู้คนทั่วไปอยู่ใน “การเปรียญ” หรือที่บางท่านเรียกว่า “พระที่นั่งทรงธรรม”

บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎรูปทรงงดงามแปลกตาเพิ่งเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาเราท่านกันไม่นานมานี้เมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์การเปรียญในพุทธศักราช ๒๕๔๙ ประกอบกับ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสถาปัตยกรรมราชสำนักได้ตีพิมพ์ภาพของบุษบกธรรมาสน์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบทความ “พระที่นั่งทรงธรรม : วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎของวัดราชประดิษฐฯ ยังนับเป็น 1 ใน 5 ของบุษบกยอดมงกุฎและยอดทรงมงกุฎเท่าที่ผู้เขียนเคยพบในประเทศไทย ได้แก่

บุกษกธรรมาสน์ยอดมงกุฎ วัดค้างคาว

1.บุษบกธรรมาสน์ยอดทรงมงกุฎ จากวัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในห้องไม้จำหลัก ทำจากไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก ลักษณะเป็นบุษบกทรงกระบอกทรวดทรงผอมเพรียวสูงชะลูด มียอดทรงมงกุฎแบบทรงจอมแห รองรับด้วยเสา 6ต้น ฐานบุษบกจำหลักรูปเสี้ยวกางเหยียบกิเลนบนพื้นหลังโปร่ง บนสุดของฐานประดับด้วยกระจังปฏิญาณขนาดใหญ่สอดไส้รูปเทพนม บันไดทางขึ้นสูงชัน ราวบันไดคดโค้งตวัดเป็นหางของมกรที่คาย “มนุษยนาค” ออกมาจากปากอย่างอ่อนช้อยสวยงาม จัดเป็นงานศิลปะในสมัยอยุธยาตอนปลาย

2.บุษบกยอดทรงมงกุฎประดิษฐานพระประธานในพระอุโบสถ วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร พระอารามที่คุณหญิงน้อย ภริยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติสร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2393 ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุษบกไม้จำหลักรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดทองประดับกระจก ยอดทรงมงกุฎเพิ่มมุมของบุษบกมีสัดส่วนทรวดทรงงดงามได้สัดส่วนยิ่ง ปลายปลียอดประดับพุ่มข้าวบิณฑ์

(ซ้าย) บุษบกธรรมาสน์ยอดมุงกุฎ วัดอนงคาราม (ขวา) วัดพระพุทธบาท

3.บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎของวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี  มีความใกล้เคียงกับบุษบกธรรมาสน์ของวัดราชประดิษฐมากที่สุด ดังเห็นได้จากเตียงลาสำหรับพระภิกษุก้าวขึ้นธรรมมาสน์ แม่ไม่ทราบประวัติความเป็นมา แต่จากทรวดทรงของยอดที่เป็นรูปทรงมงกุฎเพิ่มมุมคล้ายบุษบกประดิษฐานพระประธานวัดอนงคารามจึงอาจสร่งในรัชกาลเดียวกัน

วัดบรมวงศ์อิศวราราม

4.บุษบกยอดมงกุฎประดิษฐานพระประธานภายในพระอุโบสถ วัดบรมวงศ์อิศรวราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนแล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพุทธศักราช 2418 เป็นบุษบกผ่าครึ่งติดผนังทำจากไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก หลังคาบุษบกจำหลักเป็นรูปโค้งคล้ายโดมประกอบด้วยลายกลีบบัวขนุนทำเป็นพุ่มต้นพระศรีมหาโพธิแบบเดียวกับจิตรกรรมไทยประเพณีที่นิยมตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ มีกระหนกเปลวประกอบเป็นรัศมีโดยรอบ ยอดบุษบกเป็นมงกุฎ ประกอบด้วยกรรเจียกจรและกุณฑลปลายกรรเจียกจรเป็นปูนปั้นติดผนัง ด้านหน้าทำหลังคาเป็นมุขซ้อนกัน 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา และนาคเบือน นับเป็นบุษบกที่มีทรวดทรงที่ผสมผสานกันได้อย่างแปลกตา

5.บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎใน “การเปรียญ” ของวัดราชประดิษฐฯ (ต่อไปจะเรียกว่า บุษบกธรรมาสน์) เมื่อเทียบกับบุษบกและธรรมาสน์ยอดมงกุฎของพระอารามทั้ง 4 แห่งข้างต้นแล้ว ยอดมงกุฎของบุษบกธรรมาสน์นี้ได้ถอดแบบมาจากพระมหาพิชัยมงกุฎซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างชัดเจนจนเกือบครบถ้วนทุกองค์ประกอบ ไม่เว้นแม้แต่ดอกไม้ไหวที่ประดับตามชั้นเชิงต่างๆ ของพระมหาพิชัยมงกุฎ บุษบกธรรมาสน์หลังนี้ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาในการสร้างและมาตั้งอยู่ใน “การเปรียญ” ของวัดราชประดิษฐฯ ตั้งแต่เมื่อไร เพราะแม้แต่ประวัติของการเปรียญแห่งนี้ก็ยังค่อนข้างคลุมเครือว่าจะเรียกว่า “การเปรียญ” หรือ “พระที่นั่งทรงธรรม” กันดี เพราะฉะนั้น ประวัติที่พอจะกระจ่างแจ้งบ้างของอาคารหลังนี้จึงอาจช่วยไขความกระจ่างให้กับความเป็นมาของบุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎหลังนี้ได้บ้าง

การเปรียญวัดราชประดิษฐฯ กับบุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎ

พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “วัดพระนามบัญญัติ วัดราชประดิษฐ” ทรงกล่าวถึง “การเปรียญ” (ก็คือศาลา การเปรียญ) ของวัดราชประดิษฐไว้ว่า เดิมนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรื้อโรงช้างเผือกที่สิ้นประโยชน์ใช้สอยไปตามวาระของช้างเผือกนั้นมาสร้างเป็น “การเปรียญ” ให้กับวัดราชประดิษฐตั้งแต่แรกสถาปนาพระอาราม บริเวณด้านทิศเหนือของตําหนักสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสเทโว)

ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อการเปรียญชํารุดลงเพราะไม้ระแนงกับกระเบื้องที่มุงไม่เข้ากัน ทําให้รั่วและทรุดโทรมในเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะทรงสร้าง “กุฎี” ถวาย ให้พระสงฆ์มีที่จําวัดได้มากขึ้น จึงทรงปรึกษากับสมเด็จพระพุทธโฆษาจ เพื่อทรงซื้อการเปรียญหลังนี้ไปสร้างใหม่ระหว่างตําหนักของเจ้านายทางด้าน ตะวันตกของพระอาราม

การเปรียญที่ทรงรื้อแล้วมาสร้างใหม่นี้จึงยังคงไว้ซึ่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของการเปรียญหลังเดิม ดังเห็นได้จากหน้าบันของการเปรียญจําหลักเป็นรูปช้างเผือกที่คงซื้อมาจากโรงช้างเผือกในพระบรมมห และนํามาใช้เป็นหน้าบันของการเปรียญหลังเก่า จนกระทั่งย้ายมาเป็น ของการเปรียญหลังใหม่แทน รวมไปถึงการที่หน้าบันดูไม่ค่อยพอดี สร้างของอาคารเท่าไรนัก ส่วนอายุเวลาของการเปรียญหลังใหม่คงอยู่ใน พุทธศักราช 2412-2427 เหตุที่ไม่เก่าไปกว่าพุทธศักราช 2412

ด้วยพิจารณาได้จากกลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 มหาวราภรณ์ พร้อมดวงดาราและสายสร้อยพระสังวาลเป็นสำรับพิเศษสําหรับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ทำต่างดาวเพดานบนเพดานการเปรียญทํานองเดียวกับเพดานของพระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างใหม่เมื่อพุทธศักราช 2412 จากดวงตราช้างเผือก ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มสถาปนาขึ้น และเหตุที่คงไม่ใหม่ไปกว่าพุทธศักราช 2427 ก็เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ถึงการเปรียญหลังใหม่ในปีดังกล่าวไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงกล่าวถึงบุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฏไว้ จึงมีปัญหาว่าสร้างขึ้น เมื่อไรและมาอยู่ที่การเปรียญนี้ได้อย่างไร ตั้งแต่เมื่อไร เพราะความเป็นไปได้ ว่าจะสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพอๆ กัน กล่าวคือมีความเป็นไปได้ที่บุษบกธรรมาสน์ จะย้ายมาจากการเปรียญหลังเดิมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น เพราะอย่างน้อยก็สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยของธรรมาสน ที่มีไว้สําหรับพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา และมักตั้งอยู่ในศาลาการเปรียญ อันเป็นสถานที่สําหรับฆราวาสใช้ทําบุญฟังธรรมในวัด

อีกประการหนึ่งก็คือฝีมือช่างหลวงในช่วงปลายรัชกาลก่อนกับต้นรัชกาลต่อ

เพดานการเปรียญอันเป็นที่ตั้งของบุษบกธรรมาสน์ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 มหาวราภรณ์ เฉพาะพรมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2412 จากดวงตราช้างเผือกที่พระองค์ทรงสถาปนา

มาจึงไม่น่าจะทาง มากนัก อาทิ การประดับกระจกสีขาวตลอดทั้งเพดานและหลังเสาบุษบกหรือที่เรียกว่า “กระจกเล่นแสง” ก็เป็นลักษณะเดียวกับการประดับกระจก พระพุทธสิหังคปฏิมากรภายในพระวิหารหลวงของวัดราชประดิษฐ อันสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า ในพระราชนิพนธ์เรื่อง วัดพระนามบัญญัติ วัดราชประดิษฐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ถึงพระราชดําริในการนําพระบรมราชสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาใช้ในพระอารามที่ปฏิสังขรณ์เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศแด่ สมเด็จพระบรมชนกนาถไว้ว่า “วัดที่ฉันปฏิสังขรณ์ทําต่อทูลหม่อมแห่งใดไม่ได้ เอาเกี้ยวยอดเข้าไปแซกมงกุฎเลย ถ้าแห่งหนึ่งถึงจะมีนายช่างคิดตัวอย่างมาเปนเกี้ยวยอดแซกมงกุฎ ฉันได้ให้แก้ทุกครั้ง เพราะคิดจะถวายให้เป็นพระเกียรติยศ ที่ทรงทําเหมือนอย่างเช่นได้ทรงสําเร็จแล้ว”

ถ้าพิจารณาจากพระราชประสงค์ข้างต้นแล้ว จึงอาจเป็นไปได้ที่ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจทรงสร้างบุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎหลัง นี้เพื่อใช้เป็นธรรมาสน์เทศน์ในการเปรียญหลังเก่าของวัด และทรงสร้างเป็น “ยอดมงกุฎ” เพื่อเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงสถาปนาวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

ประเด็นนี้เรื่องรัชสมัยที่สร้างบุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎจึงยังเป็นข้อ สงสัยที่เปิดกว้างให้พิจารณากันต่อไป

บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎทําจากไม้จําหลักทาสีแดงปิดทองประดับกระจก มีหลายหลากสีด้วยกัน คือ สีขาวแบบกระจกเงา สีแดง และสีเขียว มักใช้ประดับที่ตัวลาย ส่วนสีขาบ(สีน้ำเงินเข้ม) ใช้ประดับเป็นพื้นหลัง บุษบกธรรมาสน์มีองค์ประกอบสําคัญทั้งหมดด้วยกัน 3 ส่วน อันได้แก่ ฐานบุษบก, เสาและหลังคาบุษบกพร้อมเครื่องประดับตกแต่ง และยอดมงกุฎอันเป็นองค์ประกอบสําคัญของบุษบกธรรมาสน์หลังนี้  

ยอดมงกุฎของบุษบกธรรมาสน์

ยอดบุษบกธรรมาสน์เป็น “ยอดมงกุฎ” เหตุที่ผู้เขียนไม่เรียกว่า “ยอดทรงมงกุฎ” เนื่องจากองค์ประกอบทั้งหมดของยอดเลียนแบบมาจาก “พระมหาพิชัยมงกุฏ” โดยแทบไม่มีการปรับ ลดทอน หรือปรับปรุงทรวดทรงให้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุมแบบสถาปัตยกรรมดังเช่นบุษบกทรงพระประธานในพระอุโบสถ วัดอนงคาราม แต่ดูเหมือนขยายขนาดของพระมหาพิชัยมงกุฎทั้งทรวดทรง และรายละเอียดมาสวมลงบนยอดธรรมาสน์มากกว่า

ในที่นี้จึงขอเรียกว่า “ยอดมงกุฎ” ยอดมงกุฎของบุษบกธรรมาสน์จึงมีองค์ประกอบที่เทียบเคียงได้กับพระมหาพิชัยมงกุฏที่ทําจากทองคําลงยาราชาวดีประดับเพชร มีดอกไม้ไหวประดับเพชร เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างขึ้นเมื่อประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในพุทธศักราช 2324

(ซ้าย) ยอดมุงกฎของบุษบกธรรมาสน์ในการเปรียญวัดราชประดิษฐ (ขวา) พระมหาพิชัยมงกุฎ

สำหรับยอดมงกุฎของบุษบกธรรมาสน์ ในการเปรียญวัดราชประดิษฐ มีทรวดทรงองค์ประกอบ และลวดลายประดับ ที่ถอดแบบมาจากพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างขึ้นเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ดอกไม้ไหว” ในลักษณะเดียวกับที่ประดับบนพระมหาพิชัยมงกุฏ ซึ่งไม่ปรากฏในบุษบกยอดมงกุฎหรือยอดทรงมงกุฎแห่งอื่น

ปลายปลีของบุษบกธรรมาสน์จําหลักลายจุดไข่ปลาแทนมงคลเพชรที่ประดับโดยรอบ “พระมหาวิเชียรมณี” เพชรขนาดใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงให้พระราชสมบัติ (การเวก รัตนกุล) ซื้อมาจากเมืองกัลกัตตาของ อินเดียเมื่อพุทธศักราช 2502 เพื่อทรงใช้ประดับบนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ ดังนั้น “เม็ดน้ำค้าง” บนปลายปลียอดจึงเทียบได้กับพระมหาวิเชียรมณีเป็นเพชรยอดมงกุฎ

ถึงแม้ว่าบุษบกธรรมาสน์ยอดทรงมงกุฎหรือยอดมงกุฏที่เรามีอยู่เพียงน้อยนิดจะปรากฏมาแล้วตั้งแต่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังตัวอย่างจาก ธรรมาสน์ยอดมงกุฎวัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี รวมไปถึงบุษบกยอดมงกุฎ รูปทรงแปลกประหลาดของวัดบรมวงค์อิศรวราราม ส่วนหนึ่งเพราะผู้สร้างคง ตั้งใจประดิษฐ์ให้มีรูปทรงที่ดูแปลกตาจึงไม่เป็นที่แพร่หลายเหมือนเช่นธรรมาสน์ยอดบุษบกที่พบได้ทั่วไป

กุฏาคารยอดมงกุฎกับ “อินทรคติ” ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมเรือนยอดหรือ “กุฎาคาร” ที่เป็น “ยอดมงกุฎ” ขึ้น ดังปรากฏเป็นงานสถาปัตยกรรมหลายแห่งด้วยกันไม่ว่าจะเป็น วิหารยอดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่อาจถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรม “ยอดมงกุฎ” แห่งแรกและมีทรวดทรงงดงามที่สุด เป็นแบบอย่างให้กับสถาปัตยกรรมยอดมงกุฏอื่นๆ ใน เวลาต่อมา อาทิ ซุ้มประตูยอดมงกุฎทางเข้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ต่อ มา “ยอดมงกุฎ” ก็แปรเปลี่ยนให้มีเพิ่มเก็จเป็นเหลี่ยมมุมแบบสถาปัตยกรรม กลายเป็น ขอดทรงมงกุฏ” เช่น ยอดทรงมงกุฏของพระมณฑปประดิษฐานพระไตรปิฎกและซุ้มประตูทางเข้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีบุษบกยอดทรงมงกุฎของพระโพธิธาตุพิมานด้านหลังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และหอระฆังทรงมงกุฎของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จนกระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซุ้มประตูทางเข้าวัดเทพศิรินทราวาส ก็ยังเป็นยอดทรงมงกุฎแปดเหลี่ยม รวมทั้งหอระฆังของพระอารามเดียวกันก็ เป็นยอดทรงมงกุฎ

การสร้างสถาปัตยกรรมเรือนยอดหรือกุฎาคารยอดมงกุฎหรือยอดทรงมงกุฎที่ริเริ่มในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคงเป็นคติสัญลักษณ์ เกี่ยวเนื่องกับ “คติพระอินทร์” ซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่า “อินทรคติ” และเป็นหนึ่ง พระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เด่นชัดจนถือเป็น “อุดมการณ์” อย่างหนึ่งประจํารัชสมัย “อินทรคติ” ที่สัมพันธ์กับ “กุฎาคารยอดมงกุฎ” เห็นได้ชัดเจนจากการที่ทรงสถาปนาวิหารยอดในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็น กุฎาคารยอดมงกุฎ จดหมายเหตุวัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่ง “ออกพระศรีภูริปรีชาธิราชเสนาบดีศีลาลักษณและนายชํานิโวหาร” เขียนเสร็จเมื่อจุลศักราช 1196 หรือตรงกับพุทธศักราช 2377 ได้เรียกชื่อเต็มของวิหารยอดที่พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นก่อนพุทธศักราช 2377 ว่า “พระบวรมหาเศวตกุฎาคารวิหารยอด” และอีกชื่อหนึ่งที่ค่อนข้างจะเกี่ยวข้อง กับอินทรคติปรากฏในฉบับตัวเขียนจึงไม่ค่อยแพร่หลายนักก็คือ “พระบวรมหาเสวตรเวชะยันตวิหาร” หรือ “พระเสวตระเวชยันตะพิมานวิหารยอด”

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า “เวชยันตะพิมาน” ในที่นี้ก็คือ “ทิพพิมานอันเป็นนิวาสน ฐานแห่งสมเด็จพระอมรินทราธิราช ตั้งอยู่ในท่ามกลางแห่งเมืองดาวดึงส์ มีนาม บัญญัติชื่อว่าไพชยนตพิมาน” คือ วิมานไพชยนต์ วิมานพระอินทร์ หรือ “เรือนอินทร์” ของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ตามคติไตรภูมินั่นเอง แสดงให้เห็นว่า วิหารยอดแห่งนี้นอกจากจะเป็นสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์งานช่างในรัชกาลที่ 3 แล้ว ยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์สื่อถึงวิมานไพชยนต์ ของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สอดคล้องกับอินทรคติที่เป็นพระราชนิยม หรืออุดมการณ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

อย่างไรก็ตาม หาก “ยอดมงกุฎ” ของวิหารยอดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีความเกี่ยวข้องกับ “วิมานพระอินทร์” บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว ปัญหาก็คือ เราจะอธิบายและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง “ยอดมงกุฎ” กับ “วิมานพระอินทร์” ได้อย่างไร เพราะในไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ไว้

คัมภีร์ปัญจราชาภิเษก เขียนขึ้นโดยพระพิมลธรรมถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในพุทธศักราช  2324 กล่าวถึงลักษณะราชาภิเษก 5 ประการ และธรรมเนียมปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับพระราชสิริของพระมหากษัตริย์ คัมภีร์นี้ได้เปรียบเทียบพระวรกายของพระมหากษัตริย์กับเขาพระสุเมรศูนย์กลางของจักรวาลและเครื่องราชกกุธภัณฑ์อันเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งในคัมภีร์ระบุว่า ได้แก่ พระเศวตฉัตร พระมหามงกุฎ พระขรรค์ พระภูษาผ้ารตกัมพล ฉลองพระบาททองประดับแก้ว ในฐานะเครื่องประดับเขาพระสุเมรุไว้อย่างน่าสนใจว่า

“โส มหาสตฺโต สิเนโร อธิฏฺฐานกายํ ปญฺจาภิเสก อธิฏฺฐาสิ เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริย์ได้ราชาภิเษกเป็นเอกแก่ราชสมบัติแล้ว พึงได้อธิฐานอาตมาพระองค์เอง ว่าเรานี้คือเขาพระสุเมรุราชอันตั้งอยู่เป็นหลักพระธรณีในพื้นปฐพีดล และพระเนตรของเราข้างขวาคือพระสุริยอาทิตย์ พระเนตรของเราข้างซ้ายคือพระจันทร์อันล่องโลกให้เห็นแจ้งในพระทัย…และพระหัตถ์ทั้งซ้ายขวาและฝ่าพระบาทนั้น คือ ทวีปทั้งสี่ เศวตฉัตรหกชั้นนั้น คือฉกามาพจรทั้งหก…พระมหามงกฎนั้นไซร้ คือยอดวิมานพระอินทร์ พระขรรค์นั้น คือพระปัญญา อันจะตัดมลทินถ้อยความไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้เห็นแจ้งทั่วทั้งโลกธาตุ และเครื่องประดับผ้ารัดกัมพลนั้น คือเขาคันธมาทน์อันประดับเขาพระสุเมรุราช อันองค์พระมหากษัตริย์นั้น คือพระวินัยธรรม อันตรัสสั่งสอนแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้ปรากฏเห็นแจ้งรุ่งเรืองไปทั่วทั้งชมพูทวีป เกือกแก้วนั้น คือแผ่นดินอันเป็นที่รองรับเขาพระสุเมรุราช และเป็นที่อาศัยแก่อาณาประชาราษฎรทั้งหลายทั่ว ทั้งแว่นแคว้นขอบขัณฑเสมาและจะภาชาปรากฏด้วยพระยศพระเดชของสมเด็จพระมหากษัตริย์เจ้านั้นแล” (ผู้เขียนแน้นความ)

โดยนัยของการอุปมาจากคัมภีร์ปัญจราชาภิเษกข้างต้น พระมหามงกุฎ อันเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงเปรียบได้กับยอดวิมานพระอินทร์ ปรารภเหตุดังกล่าว กุฎาคารยอดมงกุฎหรือยอดทรงมงกุฎที่ริเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเป็นสัญลักษณ์ที่แทนความหมายถึง “ยอดวิมานพระอินทร์” คือยอดของไพชยนต์มหาปราสาทที่ประทับของพระอินทร์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เหนือยอดเขาพระสุเมรุศูนย์กลางของจักรวาลนั่นเอง ดังเห็นได้จากนามของวิหารยอดที่ปรากฏในจดหมายเหตุวัดพระศรีรัตนศาสดา ราม คือ “พระบวรเสวตรเวชะยันตวิหาร” หรือ “พระเสวตระเวชยันตะพิมานวิหารยอด”

ด้วยเหตุนี้ การสร้างกุฏาคารยอดมงกุฎหรือยอดทรงมงกุฎเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แทนวิมานไพชยนต์ของพระอินทร์และเฟื่องฟูในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพ้องกับพระราชนิยมใน “อินทรคติ” ของพระองค์

ไม่เพียงแต่สถาปัตยกรรมยอดมงกุฎหรือยอดทรงมงกุฎที่สื่อความหมาย ถึงยอดวิมานพระอินทร์เท่านั้น อินทรคติเช่นว่านี้ยังปรากฏที่พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระมหามงกุฎของพระประธานวัดนางนอง กรุงเทพมหานคร มาสวมลงบนยอดนภศูลของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม การศึกษาของนักวิชาการ ที่ผ่านมาไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า พระปรางค์องค์นี้ คือ พุทธสถาปัตยกรรมที่สื่อสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุอย่างชัดเจนก็จริง

หากสิ่งที่ยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ก็คือ พระราชดําริของพระองค์ที่ทรงเชิญพระมหามงกุฎ ไปประดิษฐานบนยอดนภศูลของพระปรางค์

ในงานศึกษาของนักวิชาการหลายท่าน แม้จะแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ว่า ปรางค์ประธานของวัดอรุณราชวรารามเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล แต่ก็คงมิใช่ “ทั้งหมด” ของพระปรางค์ที่เป็นเขาพระสุเมรุ พระปรางค์ประธานล้อมรอบด้วยปรางค์บริวารทั้ง 4 มุม เทียบได้กับมหาทวีป ทั้ง 4 ทิศของเขาพระสุเมรุ มณฑปทั้ง 4 ด้านของปรางค์บริวารอาจหมายถึง ท้าวจาตุมหาราช เทพยดาผู้ทรงพิทักษ์รักษาทวีปทิศทั้งสี่ สอดคล้องกับการ ประดับฐานปรางค์ประธานซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น ชั้นแรก เป็นยักษ์แบก สื่อถึงบริวารของท้าวจาตุมหาราช ชั้นที่ 2 เป็นกระบี่แบก อาจสื่อความหมาย ถึงบริวารของพระรามในฐานะอวตารของพระนารายณ์ ชั้นที่ 3 เป็นเทวดาแบก หมายถึง เทพยดาที่เป็นบริวารของพระอินทร์

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่า ฐานทั้ง 3 ชั้นนี้เท่านั้นที่นับเป็นเขาพระสุเมรุ ส่วนเรือนธาตุของพระปรางค์ประธานที่ตั้งอยู่บนฐานสิงห์ซ้อนกัน 3 ชั้นและ จระนําของเรือนธาตุเป็นที่ประดิษฐานรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งนักวิชาการ ให้ความเห็นว่าเป็นส่วนสวรรค์ของพระอินทร์ และบนสวรรค์ของพระอินทร์ก็ เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์จุฬามณีนั้น ๆ ผู้เขียนกลับเห็นว่า เรือนธาตุของพระปรางค์ประธาน คือ วิมานไพชยนต์หรือ “วิมานพระอินทร์” ที่ตั้งอยู่บนยอดเขา พระสุเมรุ ซึ่งแทนด้วยฐาน 3 ขั้นดังกล่าวอีกที่หนึ่ง เห็นได้จากซุ้มจระนําของ เรือนธาตุทั้ง 4 ด้านที่ตามปกติจะประดิษฐานพระพุทธรูปกลับเป็นที่ประดิษฐานรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ รวมทั้งชั้นอัสดงก็ประดับด้วยรูปพระนารายณ์ ทรงสุบรรณอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

นอกจากนี้ การประดับยอดปรางค์ขนาดเล็กเหนือสันหลังคาของซุ้มจระนําทั้ง 4 ด้าน เมื่อรวมกับยอดประธานของพระปรางค์เป็น ๕ ยอดตามคติจักรวาล ทําให้ยอดของพระปรางค์ทั้ง 5 ยอดดูเหมือนปราสาทห้ายอด ดังมีตัวอย่างปราสาท ยอดปรางค์ห้ายอด อาทิ พระที่นั่งเวชยันตวิเชียรปราสาทที่พระนครคีรี (เขาวัง) สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และปราสาทห้ายอด ในจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง “นารทชาดก” ภายในอุโบสถวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลเดียวกันเมื่อพุทธศักราช 2402

ควรสังเกตด้วยว่า ยอดนภศูลของปราสาทห้ายอดในจิตรกรรมวัดประดู่ทรงธรรม ก็ยังอาจประดับด้วยพระมหามงกุฎเช่นเดียวกับพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ด้วยเหตุนี้ ยอดทั้ง 5 ของพระปรางค์ประธานจึงเทียบได้กับปราสาทห้ายอด โดยมี รูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณประดับอยู่ที่ชั้นอัสดง ซึ่งเทียบได้กับรูปครุฑยุดนาค รองรับไขราของพระมหาปราสาท เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรม มหาราชวัง เมื่อประกอบกับรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณที่ซุ้มจระนําของเรือน ธาตุด้วยแล้ว เรือนธาตุของพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจึงเปรียบได้กับวิมาน ไพชยนต์ของพระอินทร์ โดยมีพระมหามงกุฎที่ยอดนภศูลเป็นสัญลักษณ์ของ “ยอดวิมานพระอินทร์” ตามอินทรคติที่ปรากฏในคัมภีร์ปัญจราชาภิเษก

ถึงแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพจะทรง พระนิพนธ์ไว้ในหนังสือความทรงจํา ว่า “การที่เอามงกุฏขึ้นต่อบนยอดนภศูล ก็ไม่เคยมีแบบอย่างที่ไหนมาแต่ก่อน คนในสมัยนั้นจึงพากันสันนิษฐานว่ามี พระราชประสงค์จะให้คนทั้งหลายเห็นเป็นนิมิตว่าสมเด็จเจ้าฟ้า ‘มงกุฎ’ จะเป็น ยอดของบ้านเมืองต่อไป” และยังได้รับการผลิตซ้ำเป็นความรู้เช่นว่านั้นมา จนถึงปัจจุบันก็ตาม

แต่ผู้เขียนเชื่อว่า การนําพระมหามงกุฎของพระประธาน วัดนางนองวรวิหารไปสถิตบนยอดนภศูลของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม อันเปรียบได้กับวิมานไพชยนต์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุศูนย์กลางของจักรวาลอีกที่หนึ่ง เป็นการสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ในฐานะที่พระมหามงกุฎ เปรียบได้กับยอดของวิมานพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เช่นเดียวกับที่ ปรากฏเป็นงานสถาปัตยกรรมประเภทกุฎาคารยอดมงกุฎหรือยอดทรงมงกุฎ นั่นเอง

จากยอดวิมานพระอินทร์ สู่พระบรมราชสัญลักษณ์ประจําพระองค์ ร.4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงใช้รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจําพระองค์ ประดิษฐ์จากพระปรมาภิไธยเดิมว่า “มงกุฎ” และทรงสร้างเป็นพระราชลัญจกรประจําพระองค์ขึ้นหลายองค์ จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า เหตุใดผู้คนในสมัยนั้นจึงโจษจันว่า การเชิญพระมหามงกุฎสถิตบนยอดนภศูลของพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงครองราชสมบัติต่อไป เพราะนอกจากมงกุฎจะเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจําพระองค์ในกาลต่อมาแล้ว

เมื่อได้ทรงครองราชย์แล้วจริงๆ เรื่องดังกล่าวก็ดูเหมือนจะลงเอยตามที่โจษจันกัน การเชิญพระมหามงกุฎประดิษฐานบนยอดนภศูลของพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม หรือบนยอดพระเจดีย์ของวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร จึงเปลี่ยนความหมายเชิงสัญลักษณ์จากยอดวิมานพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจําพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์หรือทรงสร้างพระเจดีย์ดังกล่าว รวมไปถึงความหมายของสถาปัตยกรรมยอดมงกุฎหรือยอดทรงมงกุฎ ที่สร้างขึ้นในรัชกาลนี้เป็นต้นไป อาทิ หอระฆังยอดทรงมงกุฎในวัดราชประดิษฐ พระอารามที่ทรงสถาปนาขึ้นก็ดี ก็คงมุ่งหมายให้เป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ อันสื่อความหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแทนที่ยอดวิมาน พระอินทร์ตามอินทรคติในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในที่สุด

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4

ปรารภเหตุดังกล่าวข้างต้น ในแง่ความหมายเชิงสัญลักษณ์อันเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฏในศาลา การเปรียญวัดราชประดิษฐ ซึ่งนําพระมหาพิชัยมงกุฎมาขยายมาตราส่วน และถอดรายละเอียดจนเกือบทุกกระเบียดนิ้ว โดยไม่มีการปรับ ลดทอน หรือปรุง แต่งทรวดทรงให้เป็นเหลี่ยมมุมแบบยอดทรงมงกุฎ แต่จงใจให้เหมือนพระมหาพิชัยมงกุฎมากที่สุด และเพื่อให้สอดคล้องกับพระบรมราชสัญลักษณ์ประจํา พระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระมหาพิชัยมงกุฎ ได้ตรงที่สุด ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎนี้ คือ สัญลักษณ์ ที่สื่อความหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงสถาปนาวัด ราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามอย่างแท้จริง


ข้อมูลจาก

“บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎวัดราชประดิษฐ  จาก ‘อินทรคติ’ สู่ ‘พระบรมราชสัญลักษณ์’”, ถอดรหัสพระจอมเกล้า, สำนักพิมพ์มติชน 2557