ช่างโบราณสมัยอยุธยา ใช้วัสดุและเทคนิคทุ่นแรงทำ “บัวหัวเสา” ปัจจุบันเหลือประดับเพียงเสาเดียวที่พระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์

บัวหัวเสา (ดินเผา) เหลือประดับเพียงเสาเดียวของพระวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์

สร้างในช่วงของครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 21 วัดพระศรีสรรเพชญ์ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีงานช่างน่าสนใจหลายอย่างหลายประการ อย่างหนึ่งที่มักไม่ได้สังเกตกัน เพราะอยู่สูงกว่าระดับสายตามาก คือ บัวหัวเสา เหลือประดับเพียงเสาเดียวของพระวิหารหลวง

 

บัวหัวเสา พระวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่มักไม่ได้สังเกตกัน เพราะอยู่สูงกว่าระดับสายตามาก

ทรงของบัวหัวเสา มีที่เรียกกันว่า “บัวโถ” เพราะรูปทรงเหมือนภาชนะมีทรงที่เรียกว่า “โถ” หรือบางทีเรียกกันว่า “บัวทรงคลุ่ม” ช่างประดับทรงของบัวหัวเสาด้วยรูปกลีบบัวเรียงกันเป็นชั้นเป็นแถว แต่ละกลีบเป็นดินเผา

 ที่ใช้ดินเผาคงเพราะทำพิมพ์รูปกลีบบัว กดดินลงบนพิมพ์ แล้วเอาไปผ่านกรรมวิธีเผา ทำได้จำนวนมาก สะดวก เร็วกว่าปั้นทีละกลีบด้วยปูน

 

เข้าใจว่า ในขั้นตอนสุดท้าย บัวหัวเสาดังกล่าว คงลงรักปิดทองด้วย


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 4 มกราคม พ.ศ.2561