จิตรกรรมพิธีแรกนาขวัญในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กับปาฏิหาริย์ในพิธี

จิตรกรรมพิธีแรกนาขวัญในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

จิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล หรือภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน มีภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติวาดบนผนังซึ่งอยู่ระหว่างช่องหน้าต่าง โดยเริ่มต้นที่ผนังด้านหลังพระพุทธสิหิงค์ และเวียนทักษิณาวรรต เวียนตามเข็มนาฬิกา ห้องภาพแรกซึ่งอยู่บนฝั่งซ้ายขององค์พระพุทธสิหิงค์ อันเป็นตอนต้นๆ ของพระพุทธประวัติ วาดภาพพิธีแรกนาขวัญของพระเจ้าสุทโธทนะ ในระหว่างพิธีเจ้าชายสิทธัตถะ ได้แสดงอภินิหารใต้ต้นหว้า

เสด็จขึ้นนั่งตั้งบัลลังก์ขัดสมาธิ เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ในม่าน ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นได้, ขณะนั้นเป็นเวลาบ่าย เงาแห่งต้นไม้อื่นย่อมชายไปตามตะวัน แต่เงาต้นชมพูตรงอยู่ดุจในเวลาเที่ยง พวกนางพี่เลี้ยง นางนมกลับเข้ามาเห็น ต่างพิศวงและนำความกราบทูลพระราชบิดา, พระองค์เสด็จและบังคมพระโอรสเป็นพระเกียรติปรากฏสืบมา.” (พุทธประวัติภาคที่ ๑ ตอนปฐมโพธิกาล)

เป็นประเด็นน่าสนใจ เหตุใดจึงทรงแสดงปาฏิหาริย์ในพิธีแรกนาขวัญ ทราบหรือไม่ว่า “โอทนะ” เป็นภาษาบาลีแปลว่า ข้าวสุก พระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดา มีพระอนุชา ๔ องค์ นามว่า สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ และฆนิโตทนะ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงสันนิษฐานว่าเหตุที่มีพระนามเกี่ยวกับข้าวสุกทั้งนั้นว่า

น่าจะเห็นว่า ในชนบทนี้ มีการทำนาเป็นเป็นสำคัญ. ทั้งมีเรื่องเล่าถึงพวกศากยะและพวกโกลิยะทำนา แย่งกันไขน้ำในแม่น้ำโรหิณีในปีฝนแล้งเกือบเกิดรบกันขึ้น.”


(ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเพจ : National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)