ภูมิหลังชื่อเมืองลั่วหยางในภาษาจีน ที่ต้องเปลี่ยนเมื่อเปลี่ยนราชวงศ์

ภาพเขียนทิวทัศน์เมืองลั่วหยาง

ค.ศ. 220 พระเจ้าวุ่ยเหวินตี้ (โจผี-บุตรชายโจโฉ) ขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ได้ประกาศแก้ไขการเขียนชื่อเมืองลั่วหยาง (ลกเอี๋ยง) โดยให้แก้ “อักษร (ลั่ว) เป็นอักษร (ลั่ว)” มีข้อความตอนหนึ่งว่า

“ราชวงศ์ฮั่นธาตุไฟกลัวน้ำ ดังนั้น อักษร (ลั่ว) จึงเอา น้ำออก เติม(เป็น ลั่ว) ราชวงศ์วุ่ยเป็นธาตุต่อมาคือดิน เป็นเพศผู้ของน้ำ น้ำได้ดินก็ไหล ดินถูกน้ำก็อ่อน ดังนั้น จงให้เอาอักษร ออก เติมอักษร (น้ำ) เปลี่ยนอักษร (ลั่ว) เป็น (ลั่ว)” ตามหลัก “ธาตุทั้ง 5” ซึ่งเป็นศาสตร์โบราณของจีน

ธาตุทั้งห้า (五行) เป็นทัศนะทางประวัติศาสตร์ของโจวเอี่ยน นักปรัชญาการเมืองสำนักยินหยางยุคจั้นกั๋ว “ธาตุทั้งห้า” ได้แก่ ไม้, ไฟ, ดิน, โลหะ, น้ำ ซึ่งเป็นตัวแทนคุณสมบัติประจำตัว “หมุนเวียน” หมายถึง ธาตุทั้งห้าอันมีสมบัติประจำตัวนี้ เริ่มต้นและจบลงต่อเนื่องกัน โจวเอี่ยนใช้ทฤษฎีนี้อธิบายความเจริญและความเสื่อมของราชวงศ์ว่า “ธาตุทั้งห้าคล้อยข่มกันเป็นวงจรไม่ชนะกันเด็ดขาด อี้ว์ (ซุ่นตี้) ธาตุดิน เชี่ย ธาตุไม้ อิน (ซาง) ธาตุโลหะ โจว ธาตุไฟ” ไม้ข่มดิน ดินข่มน้ำ น้ำข่มไฟ ไฟข่มโลหะ โลหะข่มไม้

เนื่องจากสีดำเป็นธาตุน้ำ ราชวงศ์ฉินจึงยกย่องสีดำ ตามทฤษฎีของโจวเอี่ยน ธาตุทั้งห้าเป็นตัวแทนของคุณสมบัติห้าประการซึ่งข่มกันเป็นวงจรหมุนเวียนไป ในยุคหลังมีคนเสนอทฤษฎีธาตุทั้งห้าให้กำเนิดกันและกันมาอธิบายการเกิดดับของคุณสมบัติทั้งห้าประการด้วย

เมื่อเริ่มราชวงศ์ฮั่นในรัชกาลฮั่นเกาจู่ (หลิวปัง) จางซางเห็นว่าราชวงศ์ฉิน (จิ๋น) อายุสั้นและโหดร้ายไร้คุณธรรมไม่นับเป็นราชวงศ์ที่ถูกต้อง ควรถือว่าราชวงศ์ฮั่นสืบต่อจากราชวงศ์โจวซึ่งเป็นธาตุไฟ ดังนั้น วันปีใหม่ของราชวงศ์ฮั่นควรเป็นธาตุน้ำ (ต้นราชวงศ์ฮั่นจึงใช้ปฏิทินแบบเดียวกับราชวงศ์ฉินซึ่งเป็นธาตุน้ำ) ถึงรัชกาลฮั่นอู่ตี้กลับมีความเห็นว่าฉินก็เป็นราชวงศ์ที่ถูกต้อง จึงเปลี่ยนปฏิทิน (คือปฏิทินไท่ชู) เป็นวันปีใหม่ธาตุดิน (เพราะดินข่มน้ำ)

จนกระทั่งหวางหม่างตั้งราชวงศ์ซิน จึงใช้ทฤษฎีของหลิวเซียงและหลิวซินสองพ่อลูกที่เห็นว่าราชวงศ์ฮั่นธาตุไฟ เมื่อพระเจ้าฮั่นกวงอู่ตี้ฟื้นราชวงศ์ขึ้นมาใหม่ ก็ยอมรับทฤษฎีนี้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่นั้นจึงกำหนดว่าราชวงศ์ฮั่นธาตุไฟ หนังสือประวัติศาสตร์ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและหลังจากนั้น เช่นพงศาวดารฮั่นซู พงศาวดารสามก๊กจี่ล้วนใช้ทฤษฎีนี้

แล้วทฤษฎีธาตุทั้งห้ามีผลกับการเขียนชื่อเมืองลั่วหยางอย่างไร

ลั่วหยาง (洛阳) เดิมชื่อลั่วอี้ (雒邑) พงศาวดารจั่วจ้วน ตอนหลู่ซวนกงปีที่สาม บันทึกไว้ว่า “โจวอู่หวางปราบราชวงศ์ซางแล้วย้าย ติ่ง (กระถางสำริด) ทั้งเก้า ไปลั่วอี้” ติ่งทั้งเก้าเป็นของสำคัญของประเทศย้ายไปอยู่ที่ไหน ก็แสดงว่าจะตั้งเมืองหลวงที่นั่น หลังจากพิชิตราชวงศ์ซางแล้ว โจวอู่หวางมาที่ลั่วหยางก่อน สร้างเมืองขึ้นที่นี่ มีชื่อว่าลั่วอี้ (雒邑) อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของวัดไป๋หม่าซื่อ (วัดม้าขาว) ในปัจจุบันติ่งทั้งเก้าก็ย้ายมาไว้ที่นี่

พงศาวดารสื่อจี้ บทประวัติราชวงศ์โจว บันทึกไว้ว่า “โจวอู่หวาง สร้างเมืองของโจวที่ลัวอี้แล้วเสด็จไป” อักษร (ลั่ว) หมายถึง “ถิ่นของคนราชวงศ์ซาง ที่ริมแม่น้ำลั่วเหอ (洛河)” แล้วราชวงศ์โจวก็เสื่อมลง ในยุคชุนชิว เริ่มมีชื่อ “ลั่วหยาง (洛阳) ขึ้น แม่น้ำ 洛河-ลั่วเหอ เดิมเรียก 洛水-ลั่วสุ่ย” เมืองลั่วอี้อยู่ทางเหนือของแม่น้ำลั่วสุย “เหนือน้ำเป็นหยาง” จึงเรียกว่าเมืองลั่วหยาง

ในยุคราชวงศ์ฉิน วิชา “อู่สิง (五行)-ธาตุทั้งห้า” แพร่หลาย จิ๋นซีฮ่องเต้ใช้หลักเรื่อง “ธาตทั้งห้าหมุนเวียน” มาอธิบายเหตุผล โดยมีความเห็นว่า ราชวงศ์โจวธาตุไฟ ราชวงศ์ฉินเข้ามาแทนโจวก็ควรจะธาตุน้ำ ดังนั้น จึงเปลี่ยนคำ “雒阳-ลั่วหยาง” เป็น “洛阳-ลั่วหยาง”

249 ปีก่อนคริสต์ศักราช ลั่วหยางสิ้นสภาพเมืองหลวงกลายเป็นเมืองธรรมดาเมืองหนึ่ง เป็นเมืองศักดินาของหลี่ว์ปู้เหวย ผู้มีบรรดาศักดิ์เป็นเหวินซิ่นโหว ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก พระเจ้าฮั่นกวงอู่ตี้ตั้งเมืองหลวงที่ลั่วหยาง เชื่อหลักเรื่องธาตุทั้งห้าหมุนเวียนเช่นเดียวกัน เห็นว่าราชวงศ์ฮั่นธาตุไฟ จึงเอาอักษร “น้ำ ” ในอักษร “ลั่ว” ออก กลับไปใช้อักษรเดิมเป็น 雒阳 (ลั่วหยาง)

ถึงรัชกาลพระเจ้าเหี้ยนเต้ ตั้งแต่ปีแรกของรัชศกชูผิงเป็นต้นมา ประเทศจีนแตกแยก ขุนศึกต่างยึดครองถิ่นที่ตนมีอำนาจ เกิดสงครามกลางเมืองต่อเนื่องกันแรมปี ราชวงศ์ฮั่นเหลือแต่ชื่อ อำนาจจริงหมดไป เกิดเป็นยุค “สามก๊ก” คือ วุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก ค่อยเกิดขึ้นจนสมบูรณ์ จากการปราบโจรโพกผ้าเหลืองและเหล่าขุนศึก อำนาจของโจโฉค่อยๆ ยิ่งใหญ่ขึ้น จนในที่สุดกุมอำนาจของราชวงศ์ ค.ศ. 220 โจโฉถึงแก่พิราลัยที่เมืองลั่วหยาง โจผีสืบอำนาจไม่นานนักก็ปลดพระเจ้าเหี้ยนเต้ลง แล้วตั้งตัวเป็นกษัตริย์ เปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากฮั่นเป็นวุ่ย

โจผีก็เชื่อเรื่องธาตุทั้งห้าหมุนเวียนกัน เขามีความเห็นว่าราชวงศ์วุ่ยธาตุดิน “น้ำได้ดินก็ไหล ดินได้น้ำก็อ่อน” เมือง “雒阳ลั่วหยาง” เคยใช้ชื่อ “洛阳ซึ่งมี “น้ำสามหยด ” เป็นโภคผล ควรใช้เป็น “คู่มงคล” กับราชวงศ์วุ่ยซึ่งธาตุดิน จึงออกประกาศให้เปลี่ยนอักษรชื่อเมืองจาก 雒阳 เป็น 洛阳

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


ข้อมูลจาก :

หลี่ฉวนจวินและคณะ เขขียน, ถาวร สิกโกศล แปล. 101 คำถามสามก๊ก, สำนักพิมพ์มติชน, พิพม์ครั้งแรก กรกฎาคม 2556


เผยแพร่ในระบบออนลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 ธันวาคม 2564