ฉวีวรรณ ดำเนิน ราชินีหมอลำ รายได้ 10 บาท/คืน สู่หลักหมื่น เบ้าหลอมบานเย็น รากแก่น

ฉวีวรรณ ดำเนิน (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ส.ค. 2536)

คือเพชรน้ำหนึ่งแห่งแผ่นดินอีสาน ผู้สืบทอดวัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทหมอลำ กว่าครึ่งชีวิตของท่านเป็นความพยายามอนุรักษ์รูปแบบของหมอลําถิ่น ฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการ กระทั่งก้าวขึ้นสู่ “ราชินีหมอลํา” ด้วยสมองและสองแขนของตน ขณะเดียวกันก็เป็นเบ้าหลอมชั้นเยี่ยมสร้างหมอลําเด่น ๆ ขึ้นมาประดับวงการอีกหลายคน อาทิ บานเย็น รากแก่น, อรอุมา สิงห์สิริ, เย็นจิตร พรเทวี, น้องนุช ดวงชีวัน, อังคณาง คุณไชย ฯลฯ

ผู้สร้าง “หมอลําเรื่องต่อกลอน” ร่วมกับ หมอลําทองคํา เพ็งดี และได้รับเลือกให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (หมอลํา) ประจําปี 2535

ฉวีวรรณ ดําเนิน หรือ ฉวีวรรณ พันธุ

พ่อคือตะวันชี้นำชีวิต

ฉวีวรรณ ดําเนิน ถือกําเนิดขึ้นมาในแวดวงศิลปะพื้นบ้าน เป็นสายเลือดศิลปินมาแต่กําเนิด ตั้งแต่รุ่นทวดปู่ทวด คุณพ่อชาลี ดําเนิน เป็นหมอลํารับสอนลูกศิษย์ลูกหาที่บ้านแลกกับการทํานา ส่วนคุณแม่แก้ว ดําเนิน เป็นแม่ศรีเรือนที่ชอบงานฝีมือ ประเภททําผ้าไหม ทําลายมัดหมี่

ฉวีวรรณได้รับการฝึกเป็นหมอลําตั้งแต่อยู่ชั้นประถมแลกกับเงินค่าขนม แต่มาเริ่มทุ่มเทให้คุณพ่อเคี่ยวเข็ญจริง ๆ เมื่ออายุได้ 12 ปี

แต่ถ้าจะถามความในใจของหมอลําสาวชื่อดังนางนี้แล้ว แท้ที่จริงความฝันใฝ่แต่สมัยเป็นเด็กคือต้องการเป็นครูสามัญสอนหนังสือเด็กตามชนบท แต่คุณพ่อต้องการให้เป็นตัวแทนเนื่องจากเห็นว่าเสียงดี

“อาจารย์(ฉวีวรรณ)บอกว่าอยากมีบ้านในเมือง ไปไหนมาไหนจะได้ไม่ลําบาก พ่อบอกว่าต้องเป็นหมอลําสิ อาจารย์ก็บอกว่า ไม่หรอก เป็นครูถึงจะได้บ้านในเมือง เห็นมั้ยไม่มีหมอลําคนไหนมีบ้านในเมืองเลย มีแต่เพื่อน ๆ ที่มีพ่อเป็นครูถึงจะมีบ้านในเมือง”

แต่ด้วยการเกลี้ยกล่อมของคุณพ่อ…ถ้าไปเป็นหมอลํากับคุณพ่อจะให้ขนมให้สตางค์พร้อมกับคอยย้ำว่า… ไอ้หวีมันเสียงดีแด้ ร้องเสียงเป็ด เสียงแมวได้เหมือนกว่าเพื่อน ทําให้ฉวีวรรณมีใจโน้มเอียงเริ่มย่างตามรอยคุณพ่อ โดยการเรียนลํากลอนกับคุณพ่อ และต่อมาก็ขอให้คุณพ่อพาไปเรียนลําหมู่ทํานองลําเพลินกับแม่ครูคุณที่อีก หมู่บ้านหนึ่ง

จังหวะและโอกาสเปิดทางอีกครั้ง เมื่อพี่สาวต่างมารดาซึ่งเป็นหมอลำอยู่นครเวียงจันท์แต่งงานแล้วท้อง จึงเขียนจดหมายมาขอตัวฉวีวรรณไปอยู่ด้วย ขณะที่มีอายุเพียง 13-14 ปี ที่นี่เองที่ฉวีวรรณได้เรียนเขียนอ่านภาษาลาว พร้อมกับได้เป็นหมอลําให้สถานีวิทยุประจําประเทศลาว มีรายได้จากคืนละ 10 บาท เป็นคราละเป็นพัน ๆ บาท ทว่าอยู่ได้เพียง 2 ปีก็ เกิดสงครามในประเทศลาว คุณพ่อจึงไปรับตัวกลับ

แม้ว่าจะกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนแล้ว แต่ฉวีวรรณก็ยังได้รับการติดต่อให้ไปลําในงานของเจ้านายทางจําปาศักดิ์ โดยมีรายได้ถึงคืนละ 12,000 บาท พร้อมกับมีรถมารับถึงบ้าน ทําให้รําลึกถึงคําพูดของคุณพ่อว่าพูดถูกทุกอย่าง และพยายามเคี่ยวเข็ญให้ลูกสาวเป็นหมอลำให้ได้

คําสบประมาทเป็นเหตุ

นอกจากคําเกลี้ยกล่อมคะยั้นคะยอของคุณพ่อ ส่วนหนึ่งที่เป็นแรงส่งสําคัญให้ฉวีวรรณ ก้าวเข้าสู่เส้นทางของหมอลําอย่างเต็มตัว คือต้องการลบคําสบประมาทของพี่เขย

กลับจากเวียงจันท์ถึงหน้านา ฉวีวรรณก็ต้องทำนา ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นฝ่ายทอมัดหมี หนักเข้าก็โอดว่าปวดหลัง เจ็บหัวแม่มือ คุณพ่อจึงยื่นข้อเสนอว่าถ้าไม่ทํานาก็ต้องเป็นหมอลํา ให้สอนลูกศิษย์แทนคุณพ่อ แต่ด้วยความไม่มั่นใจในตัวเอง จึงขอไปเรียนลําเพิ่มเติม เพราะต้องการเป็นหมอลําทางวิทยุ วปถ. 6  ซึ่งออกอากาศ อยู่ในขณะนั้นทุกวัน โดยที่คุณพ่อพรากรอกหูว่า เสียงสู้ไอ้หวีไม่ได้

“พอดีรายการวิทยุประกาศรับสมัคร ก็เลยบอกว่า ปีนี้จะทํานาให้ แต่พอปักดําเสร็จ พ่อต้องไปส่งนะ จะเรียนหมอลําแล้วทีนี้ พ่อก็บอกว่าอย่าเรียนหมอลําเอาผัวนะลูก คือเรียนพอแต่งงานแล้วก็เลิก อาจารย์ก็บอกว่าจะเรียนหมอลําให้พ่อจริง ๆ แต่ต้องให้ไปเป็นหมอลําในเมืองนะ”

ทํานายังไม่ทันเสร็จคุณพ่อชาลีก็พาฉวีวรรณ ไปสมัครที่ สํานักงานอบรมหมอลําอีสาน นําโดยหมอลําทองลือ แสนทวีสุข โดยมีรายชื่อครูหมอลําให้เลือก พอเห็นชื่อ หมอลําคําพา ฤทธิริด และ หมอลําบุญเพ็ง ไฟผิวชัย ก็ตกลงใจเรียนทันที เพราะเคยถูกสบประมาทไว้

“ตอนอยู่กับพี่สาวที่เวียงจันท์ พี่เขยเคยพูดว่า ถ้าเก่งจริงต้องร้องทํานองของ หมอลําคําตา(ภรรยาหมอลําเคน ดาหลา) กับหมอลําบุญ เพิ่งได้สิ เลียนแบบเขาได้มั้ย อาจารย์ก็บอกว่า เลียนแบบคนอื่นได้ ชอบมาก เลียนได้ทั้งเสียง และทํานอง พี่เขยก็บอกว่า ถ้าไม่เป็นหมอลํา อย่าข้ามมาที่ประเทศลาวนะ ถ้าไม่แน่จริง เจ้าอย่าได้ข้ามมาถิ่นของพี่สาวเจ้านะ เนี่ยมาเป็นหมอลําอยู่ที่สถานีวิทยุแต่ต้องมาตักน้ำให้ฉันอาบ เป็นเพราะขี้เกียจท่องตําราเรียนก็จําไว้เลยว่าจะต้องเหนือพี่ ต้องเอาดีให้ได้”

ฝ่าด่านอรหันต์

ในยุคก่อนการเรียนหมอลําจะเรียนตามบ้านครูหมอลําเป็นส่วนใหญ่ บ้างก็ตั้งขึ้นเป็นสํานักงานหมอลํา จ้างครูหมอลํามาสอน โดยค่าเรียนนั้นส่วนหนึ่งจ่ายเป็นเงิน รวมค่ากินอยู่เสร็จ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องช่วยงานบ้านด้วย ฉวีวรรณก็เช่นกันเข้าไปเป็นลูกศิษย์อาจารย์ทองลือ ด้วยค่าเล่าเรียน 1,800 บาท

“ตอนนั้นมีหมอลําประจําอยู่ แต่ไม่มีครู เราเป็นคนใหม่ต้องถูกใช้งานมาก ต้องตื่นตั้งแต่ตีสามตีสี่ ตักน้ำให้เต็มถังขนาดถังน้ำมัน 5 ถัง ต้องถูบ้าน เสร็จแล้วชักผ้า เลี้ยงน้อง ทํากับข้าวให้น้องกิน ต้องอดทนมาก ๆ เพราะสงสารพ่อด้วย เสียเงินตั้ง 1,800 บาท และเงินก็ไม่ใช่หาง่าย ๆ พ่อต้องไปลําได้แค่ 3-12 บาท”

ไม่เพียงแต่ถูกหลอกว่ามีหมอลําคําพา และหมอลําบุญเพ็งมาสอนอาทิตย์ละครั้ง แต่ฉวีวรรณยังพบกับครูที่รักศิษย์ลําเอียง เมื่อถึงช่วงฟ้อนรําก็จะใช้ฉวีวรรณให้ไปทํางานสารพัดอย่าง กระทั้งฉวีวรรณต้องปืนแอบจําท่าฟ้อนตามช่องลม

“เวลาอาจารย์ไปลํา เกตุแก้วเพื่อนที่เรียนด้วยกันไม่เคยมีงาน อาจารย์จะเอาเกตุแก้วไปด้วย แล้วให้เขาขึ้นเวทีเพื่อเราจะได้จําท่าลําของเขา ต้องอดทนทุกอย่าง เพราะพ่อเคยสอนไว้ว่า ลูกอยู่ในเมืองต้องตามเขาให้ทัน อย่าไปเป็นเบี้ยล่างเขา ถึงจะเจ็บแค้นอย่างไร อย่าทําปฏิกิริยา เวลาลูกเสียใจร้องไห้ก็อย่าให้ใครเห็น พ่อสอนว่า อยากได้วิชาครู ถึงครูจะว่าอย่างไร ลูกก็ต้องทนนะ ครูที่ไม่หวงวิชาคือครูคําปุ่น ตอนนั้นอยากได้ท่าลํามาก เวลาที่ครูคําปุ่นไปไหน ก็จะตามไปด้วย ไปซักเสื้อผ้าให้ แล้วคอยจําท่าลําของครู”

6 เดือนที่เรียนมา ได้กลอนลําไม่กี่กลอน แต่ดีอยู่อย่างคือ ตอนที่เรียนอยู่ เขาให้ไปออกอากาศสดของวิทยุกระจายเสียง วปถ. กับหมอลํารุ่นใหญ่ วันเสาร์-อาทิตย์ ก็มีคนมาจ้างไปลํา อาจารย์ก็บอกว่าไม่มีกลอนลํานะ เขาก็ว่าไม่เป็นไร กลอนหนึ่งลําสามรอบก็ได้ ก็เลยไป งานแรกที่อําเภอเขมราฐ ได้ 1,300 บาท แบ่งกับหมอลําชายและหมอแคน”

“ฉวีวรรณ” หมอลําออนไลน์

หน้าที่ของสํานักงานอบรมหมอลํา นอกจากสอนวิชาการหมอลําแล้ว ยังเป็นที่จัดหาหมอลําสําหรับงานต่าง ๆ โดยที่ผู้จ้างจะมาฟังเสียงหมอลําที่ร้องให้เลือกกันสด ๆ ซึ่งฉวีวรรณจะได้รับการคัดเลือกทุกคราไป ร้องจับคู่กับหมอลํารุ่นใหญ่ เช่น หมอลําทองคํา ซึ่งจุดนี้เองที่ทําให้ฉวีวรรณได้ฝึกทํานองหมอลําต่อกลอน สร้างขึ้นมาเป็นแบบฉบับของตนเอง และเอาออกอากาศทางสถานีวิทยุ วปถ.6 จนเป็นที่นิยมของคนทั่วไป

ความที่มีเสียงเป็นเอก ทําให้เมื่อบริษัทลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ต้องการหาหมอลําไปออกอากาศช่วง 2 ทุ่มหลังข่าว ฉวีวรรณจึงได้รับการคัดเลือกร่วมกับหมอลําทองคํา พร้อมกับได้รับชื่อจากจดหมายของแฟนรายการวิทยุที่เขียนเข้ามาตั้งชื่อให้ว่า “หมอลํารังสิมันต์”

งานแรกเปิดตัวที่ฉวีวรรณรับในนามของรังสิมันต์ ที่อําเภอสีคิ้ว ด้วยจํานวนนักแสดงทั้งหมด 11 คน เสื้อผ้าต้องไปซื้อจากตลาดโบ้เบ้ แม้แต่ฉากยังต้องไปเช่าจากของลิเก แม้จะไม่นับถึงค่าจ้าง 8,000 บาท ก็ยังนับว่าฉวีวรรณประสบความสําเร็จในวงการนี้อย่างงดงาม ผู้คนต่างเฮละโลกันมาฟังจนทางเดินแน่นขนัด

“คนต้องการฟังมาก เพราะอาจารย์ถูกกักขังอยู่ในเทป ไม่เคยให้ใครเห็นตัว เราทําให้เขาเก็บกดมานาน ขนาดต้องเดินเป็นสิบ ๆ กิโลก็ยังมา เพื่อมาดูเรา เขาคิดว่าอาจารย์เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว คนแก่ ๆ บางคนยังเข้าใจว่าอาจารย์อยู่ในรุ่น ๆ เดียวกับเขา ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้อายุได้19 ปีเอง”

“พอรับงานที่ 2 ที่อําเภอห้วยผึ้ง ก็บอกไม่เอาแล้วนะ 8,000 บาท ขอวันละ 12,000 บาท ลํา 3 วันได้มา 30,000 บาท อีก 6,000 บาททําบุญให้วัด ตอนนั้นรู้สึกจะมีหมอลํา 16-17 คน รถก็ไม่มีต้องไปจ้างรถเจ๊กจากหนองแค สระบุรี เป็นรถ 2 แถว 6 ล้อ ตัวถังทําด้วยไม้ จนกระทั่งรังสิมันต์มีเงินพอซื้อรถเป็นของตนเอง”

รังสิมันต์ในยุคนั้นรุ่งเรืองถึงขีดสุด สามารถทํารายได้ของหมอลําเรื่องจากคืนละ 4,000 บาท เป็นคืนละ 10,000 บาท ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จนเกิดอาชีพใหม่ คือ นายหน้าขายใบจองคิวหมอลํา ช่วงที่รายได้สูงสุด คือระหว่างปี พ.ศ.2513-2514 รายได้สูงถึง 4-5 หมื่นบาท มีการปรับเครื่องดนตรีให้ทันสมัยขึ้นโดยการเอาดนตรีสากลเข้ามา อาทิ กลองชุด กีตาร์ ทรัมเป็ต แซ็กโซโฟน ฯลฯ พร้อมกับการเพิ่มของสมาชิกรังสิมันต์ จาก 11 คน เป็น 72 คน โดยมีการประชันฝีมือกับวงดนตรีลูกทุ่ง เช่น แข่งกับ สุรพล สมบัติเจริญ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ฯลฯ

เบ้าหลอมหมอลํามือหนึ่ง

โดยปกติหมอลําหญิงเมื่อแต่งงานแล้วจะเลิกร้างจากวงการ แต่สําหรับฉวีวรรณนั้นรับปากเป็นมั่นเป็นเหมาะกับคุณพ่อว่า จะเรียนหมอลําจนวันสุดท้าย จะไม่หยุดแค่ชีวิตการแต่งงาน แต่จะทําจนกว่าจะไม่มีกําลัง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม แม้บางคราวการไปลําก็ไม่ได้เรียกร้องค่าตอบแทนแต่อย่างใด ประการหนึ่งเพื่อให้ “หมอลํา” เป็นที่รู้จักกันทั่ว ไม่เพียงแต่ระดับชาวบ้านเท่านั้น

นอกจากนี้ฉวีวรรณยังผลิตหมอลําขึ้นมาประดับวงการเป็นจํานวนมาก เช่นบานเย็น รากแก่น อรอุมา สิงห์สิริ, เย็นจิตร พรเทวี, น้องนุช ดวงชีวัน, อังคณาง คุณไชย ฯลฯ โดยการรับมาอยู่ด้วย เพื่อหาตัวตายตัวแทน

ลูกศิษย์คนแรก ก็คือ…บานเย็น รากแก่น

“บานเย็นมีพื้นฐานหมอลํากลอนมาก่อน รับเขามาอยู่ด้วยก็ให้เป็นลูกวง อาจารย์มองที่ รูปร่างก่อน เขาตัวเล็ก ๆ สวย เลยจะให้เขามาเล่นเป็นนางเอก เพราะตัวอาจารย์เองก็มีน้องแล้ว

“เริ่มต้นบานเย็นไม่เป็นเลยค่ะเรื่องด้นนิทาน ด้นกลอนก็ไม่มี กระทั่งการแต่งตัวก็ไม่เป็น เขาเป็นเรื่องหมอลํากลอนอย่างเดียว ซึ่งหมอลํากลอนก็ต่างจากหมอลําเรื่อง ต้องฝึกให้เขารู้ว่า โกรธทํายังไง เกลียด รัก เสียใจ ทํายังไง ช่วงนั้นอาจารย์ทํารายการอยู่ทีวีขอนแก่นด้วย ก็พาเขาไปออกด้วย” กระทั่งเก็บบ่มมาเป็น บานเย็น รากแก่น อดีตราชินีหมอลําชื่อดังในเมืองลุงแซม ซึ่งเคยเป็นแขกรับเชิญร่วมรับประทานอาหารกับ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส

ลูกศิษย์คนต่อมา คือ อังคณาง คุณไชย เรียนทั้งลํากลอนและลําเรื่อง เนื่องจากคุณพ่อนํามาฝากเรียนตั้งแต่ย่างวัยรุ่น อายุได้ 14 ปี

“ค่าจ้างไม่คิดหรอกค่ะ ต้องการให้เขามารับผิดชอบแทนเรา หน้าตาสวย ก็เลยอยาก ให้เล่นมโนราห์ เขาก็บอกว่าเล่นไม่ได้ ๆ จนต้องย้ำว่าเล่นไม่ได้ก็ต้องเล่น ตอนนั้นนางยังเล่นไม่ค่อยได้ตรงไหนเล่นไม่ได้ก็มักจะร้องไห้ ส่วนอรอุมา สิงห์สิริ เป็นลูกศิษย์ที่เป็นลูกบุญธรรมด้วย”

เพียงชั่วระยะเวลา 2 ปีของการเรียนหมอลํากับฉวีวรรณ ศิษย์ทั้งหลายก็พร้อมที่จะออก ไปดําเนินอาชีพได้เลย เพราะการเพาะบ่มที่เข้มงวด ทั้งกลางวันและกลางคืน ถ้าเป็นกลางวันจะต้องท่องกลอนให้ได้ และมาปฏิบัติตามจริงในช่วงกลางคืน ทั้งนี้เวทีสําหรับเคี่ยวลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายก็คือบริเวณชานเรือนที่ได้รับการปลูกสร้าง ขึ้นเป็นเวทีจําลอง โดยมีคุณพ่อชาลีเข้ามาช่วยในการหัดท่าลําของหมอลําชาย

หลักสูตรใหม่ “หมอลําในตลับ”

เสน่ห์ของหมอลําที่สําคัญ คือ การเล่นลูกคอ ต้องมีจังหวะหนัก-เบาชัดเจนเพื่อใช้ในการเน้นอารมณ์ของบทร้องแต่ละบท ฉวีวรรณเผยถึงเทคนิคของการฝึกลูกคอว่า คุณพ่อให้ฝึกกลั้นลมหายใจยาว ๆ เหมือนกับการเล่นอี โดยการกระแทกลมออกจากปอด ช่วงที่ลมได้รับการกระแทกออกมาจะเป็นคลื่น ทั้งนี้ไม่ควรจํากัดเวลาฝึก ว่างเมื่อไรก็ฝึกเมื่อนั้น ไม่ว่าจะตอนทําครัว เดินทาง ฯลฯ

การฝึกลูกคอลักษณะนี้ได้รับการถ่ายทอดจากฉวีวรรณสู่ลูกศิษย์อีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ยังต้องฝึกการไล่เสียง เริ่มตั้งแต่ 3 ระดับ ทั้งนี้ต้องดูที่รูปร่างของผู้รับการฝึกด้วย ถ้าเป็นคนตัวเล็กหมายถึงมีปอดเล็ก ย่อมไม่สามารถไล่ระดับเสียงได้มากเท่าคนตัวโต

อย่างไรก็ตาม ในลักษณะของการรับลูกศิษย์ลูกหา ฉวีวรรณเปิดกว้างเต็มที่ ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแต่มีคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาขอสมัครเป็นศิษย์แบบกินอยู่เสร็จ แต่ยังมีที่มาติดต่อขอเทปการสอนหมอลําไปฝึกเองที่บ้าน เช่น น้องนุช ดวง ชีวัน วิสา คัญคัพ ฯลฯ

“ลูกศิษย์อีกคน ตัวเล็ก ๆ น้องนุช ดวง ชีวัน สอนด้วยเทป คือพี่เลี้ยงเขาเป็นลูกศิษย์เราก่อน แล้วอัดเทปไปสอนเขา หรือ จินตหรา พูล ลาภ อาจารย์ก็แค่เอาเทปไปให้ เพราะคนที่เป็นคนดูแลเขาก็เป็นลูกน้องเก่ามาก่อน ส่วนใหญ่แล้วที่สอนด้วยเทป จะเป็นพวกนักเขียนที่เคยเป็นลูกน้องเรามาก่อน อีกกลุ่มคือนักดนตรี พวกนี้จะมีพื้นฐาน พอเอาไปแล้วตัวไหนที่ไม่ฉ่ำก็จะมาถามจากเรา มักจะเอาเนื้อร้องมาให้เราก็จะเน้นเสียงให้เป็นจุด ๆ เลย อย่างคุณวิสา คัญทัพ ก็ศึกษาในลักษณะนี้ พอไม่เข้าใจก็โทรศัพท์มาถาม”

คลื่นใต้น้ำในวิทยาลัย

หลังจากสั่งสมชั่วโมงบินจากการเป็นหมอลํามืออาชีพจนได้รับการขนานนามจากประชาชนว่า “ราชินีหมอลํา” ปี พ.ศ. 2524 ฉวีวรรณได้รับเชิญจากวิทยาลัยนาฏศิลป ร้อยเอ็ด ให้เป็นครูสอนวิชาศิลปะพื้นบ้าน จึงตกลงใจเข้าสอนวิชาด้านการขับร้องและฟ้อนรําทันที

ทว่า ต้องประสบอุปสรรคอันยิ่งใหญ่อีกครั้งในสังคมของครูวิชาการทั้งหลาย

ก็แค่หมอลํา จะมีดีอะไรเชียว เขาจ้างมาก็เพื่อเป็นเครื่องประดับของกรมศิลป์เท่านั้น หรือไม่ก็เป็นสะพานเชื่อมโยงกับประชาชนท้องถิ่น คนละระดับกับครูคนอื่น ๆ ในวิทยาลัย สายตาของคนเหล่านั้นส่วนหนึ่งจึงสื่อออกมาทางด้านการดูแคลน และกรมศิลปากรเองก็มองว่าเมื่อเป็นครูของวิทยาลัยแล้วมิบังควรจะไปรับงานแสดงข้างนอก หรือให้สัมภาษณ์ลงในสื่อต่าง ๆ กระทั่งมีการถกเถียงกันถึงเรื่องวิจารณญาณและสิทธิส่วนบุคคลที่คนระดับครูอาจารย์ย่อมมีอยู่ในความคิด ประเด็นการปิดกั้นการแสดงออกของฉวีวรรณจึงล้มลง

“อาจารย์ต้องสวมหัวโขน พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับคนที่นี้ให้ได้ ใช้มายาที่ได้รับจากการแสดงมาสู้ในรั้ววิทยาลัย..เขาใส่หัวโขนครู เราก็ใส่หัวโขนระดับกลางระดับต่ำลงมาหน่อย ก็เข้ากับเขาได้ ขณะเดียวกันความที่เราไม่เคยเป็นครูมาก่อน ก็ต้องศึกษาการเป็นครู รู้ก็ต้องทําเป็นไม่รู้ เข้าไปนั่งดูการสอนของครูคนอื่น”

“แม้แต่กับลูกศิษย์ที่นี่ก็เคยถูกลองดี ไม่ยอมทําตามที่สอน คิดว่ารู้ดีกว่า ก็ต้องบอกว่า ถ้าเธอคิดว่าเธอมีความรู้มากกว่าครู เธอทําได้เหมือนครู เธอไม่ต้องมาเรียนก็ได้ แต่ถ้าทําไม่ได้ก็ต้องยอมรับและตั้งใจเรียน ที่ครูสอนนี้ก็ไม่ได้ต้องการอะไร เป็นเพราะรัก อยากจะฝากสิ่งดี ๆ เหล่านี้ไว้กับพวกเธอ”

ทุกวันนี้ฉวีวรรณผ่านการทดสอบจากวิทยาลัยนาฏศิลป ร้อยเอ็ด เข้าเป็นอาจารย์อย่างเต็มภาคภูมิ สมดังความตั้งใจที่ว่า อยากให้คําว่า “หมอลํา” ยังอยู่ ไม่ใช่อยู่กับชาวบ้านเท่านั้น แต่ต้องอยู่ตามสถาบันต่าง ๆ ไม่ว่าสถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง ฯลฯ เพื่อให้เขาได้เห็นว่าหมอลําก็มีความสามารถจะช่วยเหลือสังคมได้ เพราะ

“หมอลํา” ที่ใครมองว่าเป็นอาชีพเต้นกินรํากิน นอกจากจะให้ความบันเทิง ยังช่วยกล่อมเกลาจิตใจผู้ดผู้ฟังด้วยคติสอนใจจากเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนบทธรรมะผ่านกลอนลําเรื่อง-อย่างที่อีกหลาย ๆ อาชีพให้ได้ไม่เท่า

 


เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 31 มกราคม 2563