“งูเห่า” หมายถึงอะไร ทำไมใครๆปฏิเสธไม่มีงูเห่า,ไม่เป็นงูเห่า

(ภาพจาก www.matichon.co.th/)

ข้อมูลจากเว็บไซต์องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์อธิบายเกี่ยวกับ “งูเห่า” พอสรุปได้ดังนี้ งูเห่าเป็นงูบกที่มีพิษร้ายแรง นิสัยดุ ฉกกัด เมื่อเกิดอาการตกใจมักทำเสียงขู่ฟู่ๆ มีถิ่นอาศัยในประเทศแถบเอเชีย อาหารของมันคือ คางคก, เขียด, หนู, ปลา และงูที่มีขนาดเล็กกว่า

งูเห่าชอบอยู่ตามท้องทุ่งนา อาศัยพักนอนในโพรงดิน เวลาโกรธหรือตกใจจะชูคอแผ่แม่เบี้ยขู่ฟ่อ แต่ก็สามารถกัดได้โดยไม่ต้องแผ่แม่เบี้ยเช่นกัน งูเห่าออกหากินตั้งแต่พลบค่ำจนถึงกลางดึก ในฤดูร้อนงูเห่ามักจะหลบอยู่ในโพรงดินคอยดักจับหนู ในฤดูฝนจะออกหากินตามท้องนาคอยดักจับกบ เขียด ที่ออกมากินแมลง เมื่อข้าวออกรวงงูจะคอยดักจับหนูที่มากินรวงข้าว ถ้าน้ำท่วมท้องนา งูเห่าจะหนีไปตามที่ดอนไปขึ้นต้นไม้ หรือเข้าไปอยู่ใกล้ๆบ้านคน สำหรับในฤดูหนาวงูเห่าจะหลบอยู่ตามรู ไม่ค่อยออกมาหากิน

พฤติกรรมของ “งูเห่า” ข้างต้น พระจรัสชวนะพันธ์ (สาตร์) นำมาแต่งเป็น “หนังสือนิทานอีสป” (โดยใช้เค้าโครงจากนิทานอีสป) สำหรับแบบสอนอ่านสำหรับเด็กชั้นมูลศึกษา เขียนขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2454 เพื่อให้อ่านหนังสือได้คล่อง และสอนให้เด็กใช้ความคิดตริตรองตามเนื้อหา และใช้ต่อมาในระดับประถมศึกษา โดยตั้งชื่อว่า “นิทานที่ 14 เรื่องชาวนากับงูเห่า” มีเนื้อหาดังนี้

วันหนึ่งในฤดูหนาว ชาวนาออกไปพบงูเห่านอนตัวแข็งอยู่บนคันนา ด้วยความหนาวทำให้เป็นเห็นบชาไปทัวทั้งตัว ชาวนาผู้นั้นนึกสมเพช อยากจะใคร่ช่วยชีวิตไว้ จึงจับงูอุ้มา เมื่องูเห่าได้ไอตัวคนอบอุ่นเช่นนั้นไม่สู้ช้านานนัก ก็ค่อยๆ ขยับตัวขึ้นได้ทีละน้อยๆ จนแข็งแรงดีอย่างเดิม แล้วก็เห่าฟ่อๆ และกัดชาวนาเข้าที่แขนเป็นแผลลึก พิษร้ายแล่นซึมซาบเข้าไปโดยรวดเร็วในไม่ช้าก็ลงนอนตายอยู่ในที่นั้นเอง แต่เมื่อจะขาดใจชาวนาผู้นั้นร้องขึ้นว่า

“ทำคุณแก่สัตว์ดุร้ายนี่ให้โทษเช่นนี้แลหนอ”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า วิสัยพาลแล้วย่อมไม่รู้จักที่จะกตัญญูต่อผู้ใด

ในทางการเมืองคำว่า “งูเห่า” นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทยเป็นคนแรกที่นำมาใช้ เมื่อ พ.ศ. 2541


ข้อมูลจาก

http://www.zoothailand.org/ewt_news.php?nid=909  สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2562

พระจรัสชวนะพันธ์, หนังสือนิทานอีสป กรมวิชาการ กระทรวงศึกษา พ.ศ. 2540


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562