เชิงช่างไทย-ลาวไทย-เขมร ณ วัดบ้านลุมพุก เมืองขุขันธ์ ศรีสะเกษ

๑ สิมสกุลช่างไทย-ลาวผสมผสานไทย-เขมร โดดเด่นที่รูปทรงและส่วนตกแต่งโดยพื้นกระเบื้องและซุ้มประตูหน้าต่างมีอิทธิพลศิลปะญวน ๒ ไม้ค้ำยันแบบทวยปีกบ่างหรือแขนนาง (นิยมฝังจมไปในผืนผนัง) เป็นรูปแบบศิลปะลาวลักษณะใกล้เคียงกับวัดเมืองจันทร์ อำเภอ
ห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

แดนดินถิ่นอีสานใช่จะมีแต่วัฒนธรรมลาว โดยเฉพาะในแถบอีสานใต้มีกลุ่มวัฒนธรรมเขมรอันเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักที่ผสมผสานอยู่ร่วมกันกับวัฒนธรรมลาวและวัฒนธรรมอื่นๆ การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่เป็นประจักษ์พยานด้านวัตถุโดยเฉพาะงานช่างสิ่งปลูกสร้างในวัฒนธรรมความเชื่อในกลุ่มวัฒนธรรมเขมร ผู้คนส่วนใหญ่อาจคุ้นชินกับภาพของปราสาทหินต่างๆ ที่แสดงร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมแห่งอดีตสมัย โดยหลงลืมละเลยงานช่างอื่นๆ ในบริบทปัจจุบันที่เป็นการส่งต่อพัฒนาการด้านภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของวัฒนธรรมเขมรและลาวอย่างที่ปรากฏอยู่ ณ วัดบ้านลุมพุก หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ วัดโสภณวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 1 บ้านกันทรารมย์ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนเล่าให้ฟังว่าวัดและชุมชนนี้มีความเป็นมาร่วมกว่า 100 ปี

ศิลปะงานช่าง วัดแห่งนี้มีศิลปะสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ สิม (โบสถ์) ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 19 เมตร เป็นรูปแบบสิมทึบหลังคาทรงจั่วซ้อนชั้นมีมุขโถงทางขึ้นลงด้านหน้า ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานระบุปีการสร้างที่แน่ชัด แต่มีบันทึกเป็นรูปอักษรอยู่บริเวณด้านในส่วนฮังผึ้งหรือแผงโก่งคิ้วซึ่งระบุปีการบูรณะไว้ว่า เจ้าอธิการเสียง หริจนโท เป็นประธานการบูรณะและแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2494 (นับรวมถึงปัจจุบันได้ ๖๑ ปี) ซึ่งสอดคล้องกับประจักษ์พยานด้านวัตถุที่ปรากฏอยู่ในส่วนประณีตศิลป์ต่างๆ ของสิมหลังนี้ที่เป็นการซ่อมสร้างภายใต้ฉันทลักษณ์แห่งรูปแบบเดิมเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่

๓ ซุ้มป่องเอี่ยม (ช่องหน้าต่าง) แบบลูกมะหวดหรือไทยอีสานนิยมเรียกลูกดิ่งทำจากไม้กลึงเขียนสี กรอบซุ้มปูนปั้นนูนต่ำเขียนสี ๔ (บน) ช่อฟ้ากลางสันหลังคาปูนปั้นเป็น
รูปหน้ากาล (ล่าง) โหง่ว ปูนปั้นปากนกซ้อนต่อกันมีการตกแต่งสันหลังคาเป็นลายวันแล่น (อย่างลักษณะเดียวกับบราลีในวัฒนธรรมเขมร)
๓ ซุ้มป่องเอี่ยม (ช่องหน้าต่าง) แบบลูกมะหวดหรือไทยอีสานนิยมเรียกลูกดิ่งทำจากไม้กลึงเขียนสี กรอบซุ้มปูนปั้นนูนต่ำเขียนสี
๔ (บน) ช่อฟ้ากลางสันหลังคาปูนปั้นเป็น
รูปหน้ากาล (ล่าง) โหง่ว ปูนปั้นปากนกซ้อนต่อกันมีการตกแต่งสันหลังคาเป็นลายวันแล่น (อย่างลักษณะเดียวกับบราลีในวัฒนธรรมเขมร)

ส่วนฐานแอวขัน ที่สูงชันและทึบตันด้วยศิลปะแบบอย่างลาวซึ่งนิยมทำฐานเป็นบัวงอนสะบัดปลาย หรือแอวขันเข่าพรหม ทั้งนี้ในส่วนด้านล่างยังทำช่องเจาะขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ในสมัยหลังมีการถมดินปรับระดับพื้นขึ้นมาเรื่อยๆ ส่วนมุขบันไดมีลักษณะพิเศษคือการทำทางขึ้นลงเพิ่มเติมด้านข้างซ้ายขวา ความโดดเด่นอยู่ที่การตกแต่งทวารบาลเป็นรูปคนและสรรพสัตว์อย่างที่พบในวัฒนธรรมลาว เช่น รูปจระเข้คายนาค โดยนาคเป็นศิลปะแบบเขมร มีรูปสิงห์อย่างที่ยืนเฝ้าปราสาทหินแต่มีรูปแบบทางศิลปะแบบช่างชาวบ้าน

๕ ลวดลายไม้แกะสลัก (ของเดิม) ลายวันแล่นและลายเครือวัลย์ส่วนหน้ากระดานบริเวณฮังผึ้ง หรือโก่งคิ้ว
๕ ลวดลายไม้แกะสลัก (ของเดิม) ลายวันแล่นและลายเครือวัลย์ส่วนหน้ากระดานบริเวณฮังผึ้ง หรือโก่งคิ้ว
๖ ฐานแอวขัน ศิลปะแบบอย่างลาวนิยมทำเป็นบัวงอนสะบัดปลาย หรือแอวขันเข่าพรหม ด้านล่างทำช่องสำหรับวางพระพุทธรูป ๗ ธาตุบัวเหลี่ยม (แบบไม่มีแอวขันปากพาน) ลักษณะเฉพาะนิยมทำเป็นคู่ซึ่งพบอยู่หลายแห่งตามวัดโบราณในเมืองขุขันธ์และคล้ายกับธาตุคู่บริเวณผามออีแดงเชิงเขาพระวิหาร ๘ ธาตุบัวเหลี่ยมย่อมุมหรือเพิ่มมุมลักษณะใกล้เคียงกับรูปทรงปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน ๙ ผนังด้านหลังภายนอก สืบคติเรื่องมารผจญ โดยมีพระพุทธเจ้าอยู่ด้านบนและมีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ในซุ้มปราสาทเรือนแก้ว ด้วยเทคนิคปูนปั้นนูนสูง
๖ ฐานแอวขัน ศิลปะแบบอย่างลาวนิยมทำเป็นบัวงอนสะบัดปลาย หรือแอวขันเข่าพรหม ด้านล่างทำช่องสำหรับวางพระพุทธรูป
๗ ธาตุบัวเหลี่ยม (แบบไม่มีแอวขันปากพาน) ลักษณะเฉพาะนิยมทำเป็นคู่ซึ่งพบอยู่หลายแห่งตามวัดโบราณในเมืองขุขันธ์และคล้ายกับธาตุคู่บริเวณผามออีแดงเชิงเขาพระวิหาร
๘ ธาตุบัวเหลี่ยมย่อมุมหรือเพิ่มมุมลักษณะใกล้เคียงกับรูปทรงปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน
๙ ผนังด้านหลังภายนอก สืบคติเรื่องมารผจญ โดยมีพระพุทธเจ้าอยู่ด้านบนและมีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ในซุ้มปราสาทเรือนแก้ว ด้วยเทคนิคปูนปั้นนูนสูง
พระประธานปูนปั้นภายในสิมชื่อ พระพุทธโสภณ ศิลปะพื้นบ้านลาว เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านกันทรารมย์
พระประธานปูนปั้นภายในสิมชื่อ พระพุทธโสภณ ศิลปะพื้นบ้านลาว เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านกันทรารมย์

ส่วนช่องเปิดประตูหน้าต่าง การตกแต่งด้วยไม้กลึงแบบลูกมะหวดอย่างในช่องเปิดปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมร โดยมีการตกแต่งส่วนกรอบซุ้มด้วยงานปูนปั้นนูนต่ำเขียนสีโดยเฉพาะด้านสกัดหน้าที่ทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าซึ่งมีลักษณะแบบศิลปะญวนแบบพระฝ่ายมหายาน การตกแต่งบริเวณหน้าบันหรือสีหน้าน่าจะเป็นการซ่อมสร้างในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งใช้เทคนิคงานปูนมาเสริมแทนงานไม้โดยทำเลียนแบบโครงสร้างเดิมรวมทั้งงานตกแต่งเครื่องมุงหลังคาอิทธิพลศิลปะกรุงเทพฯ

นอกเหนือจากสิมแล้ววัดแห่งนี้ยังปรากฏมีศิลปะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าธาตุ ซึ่งมีความโดดเด่นอยู่ถึง 19 ธาตุ ซึ่งเป็นรูปแบบของธาตุที่มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะคติการสร้างธาตุเป็นคู่ ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับธาตุคู่ในบริเวณผามออีแดงเชิงเขาพระวิหาร ในด้านรูปแบบธาตุกลุ่มนี้มีการผสมผสานรสนิยมอย่างศิลปะเขมรดั่งที่ปรากฏอยู่ที่ ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน โดยมีการย่อมุมหรือเพิ่มมุม ซึ่งรูปแบบดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมในรูปแบบธาตุอีสานทั่วไปแต่จะพบมากในกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร และที่น่าสนใจจากการลงพื้นที่วัดโบราณต่างๆ ในเมืองขุขันธ์ พบว่าส่วนใหญ่นิยมทำธาตุเป็นทรงบัวเหลี่ยมแบบไม่มีแอวขันปากพานในส่วนฐาน โดยกลุ่มธาตุรูปแบบดังกล่าวตามบันทึกการสร้างมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 80 ปีขึ้นไป

รูปด้านข้างสิมที่มีขนาดเล็กแต่ยกพื้นสูง โดยมีบันไดด้านข้างของมุขโถงด้านหน้า
รูปด้านข้างสิมที่มีขนาดเล็กแต่ยกพื้นสูง โดยมีบันไดด้านข้างของมุขโถงด้านหน้า

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าศิลปะงานช่างไม่ว่าจะเป็นสิมหรือองค์ประกอบส่วนประดับต่างๆ รวมถึงธาตุ วัดบ้านลุมพุก แห่งเมืองขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการในเชิงช่างทั้งวัฒนธรรมลาวและวัฒนธรรมเขมรที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน จนก่อเกิดเป็นลักษณะเฉพาะถิ่นขึ้นมาใหม่ที่เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒธรรมของตนเอง ภายใต้พลังการต่อรองทั้งวัฒนธรรมเดิมและวัฒนธรรมใหม่อย่างแยบคายและนี่ไงคือสถาปัตยกรรมไทย (โดยคำว่าไทยหมายถึงคน) พื้นถิ่น ที่มีความหลากหลายที่ควรให้คุณค่ายกย่อง

 


เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 22 ธันวาคม 2559