19 สิงหาคม 1945 สหรัฐฯ ประกาศ “ไม่เคยถือว่าไทยเป็นศัตรู” แม้จะถูกไทยประกาศสงคราม

การจับมือของสามผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วย วินสตัน เชอร์ชิล (ซ้าย) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ, แฮร์รี ทรูแมน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (กลาง) และโจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต ระหว่างการประชุมที่พอตส์ดัม ประเทศเยอรมนี (AFP PHOTO)

19 สิงหาคม 1945 สหรัฐฯ ประกาศ “ไม่เคยถือว่าไทยเป็นศัตรู” แม้จะถูกไทยประกาศสงคราม

สหรัฐฯ ออกประกาศ “ไม่เคยถือว่าไทยเป็นศัตรู” แม้จะถูกไทยประกาศสงคราม แถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา 19 สิงหาคม 1945 (จากรายงานของ The New York Times) มีใจความตอนหนึ่งว่า

“ก่อนสงคราม [สงครามโลกครั้งที่ 2] ไทย และ สหรัฐอเมริกา มีสัมพันธ์ฉันมิตรมาอย่างยาวนาน เราหวังว่ามิตรภาพนี้จะยิ่งแนบแน่นขึ้นอีกในอนาคต ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา เราไม่ถือว่าไทยเป็นศัตรู แต่เป็นประเทศที่จะต้องได้รับการปลดปล่อยจากศัตรู เมื่อการปลดปล่อยนั้นได้เสร็จสิ้นแล้ว เราหวังว่าจะได้เห็นไทยกลับสู่สถานะเดิมในประชาคมนานาชาติ ในฐานะประเทศที่มีเสรีภาพ อธิปไตย และอิสรภาพ”

Advertisement

ทั้งนี้ ไทยได้ออก ประกาศสันติภาพ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 1945 (พ.ศ. 2488) ให้การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย เนื่องจากการประกาศสงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 นั้น เป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และฝ่าฝืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง

ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำเสรีไทย กลุ่มต่อต้านการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่น (ซ้ายบน , ภาพจาก AFP FILES/STR) กับฉากหลังเป็นสมาชิกของกลุ่มเสรีไทยสายอังกฤษ (ภาพจากจุลสารจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 19)
การจับมือของสามผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วย วินสตัน เชอร์ชิล (ซ้าย) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ, แฮร์รี ทรูแมน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (กลาง) และโจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต ระหว่างการประชุมที่พอตส์ดัม ประเทศเยอรมนี (AFP PHOTO)

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 สิงหาคม 2561