เผยแพร่ |
---|
“…อีเห็น คำมลายูว่า มูซัง (musang) ชาวใต้ออกเสียงเป็น มูสัง สัตว์ชนิดนี้ตระกูลเดียวกับชะมดและพังพอน ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ชอบหากินในเวลากลางคืน
นอกจากนี้ยังมีคำว่า มูสังแหย้ว หรือสังแหย้ว หมายถึงแมวตัวโต อายุมาก ภาคกลางเรียกว่า แมวคราว สัตว์อีกชนิดหนึ่งคือกระจง คำมลายูว่า กันจิล (kancil) รูปร่างคล้ายกวางตัวเล็กๆ ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคม
นิทานพื้นบ้านของมาเลเซีย และไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้มักให้กระจงมีนิสัยฉลาดแกมโกง เอาเปรียบผู้อื่น กระจงในภาษามลายูจึงหมายถึงผู้มีนิสัยดังกล่าวด้วย…”
คัดความส่วนหนึ่งจากบทความ “คำมลายู ในภาษาถิ่นใต้” โดย ประพนธ์ เรืองณรงค์ ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ กรกฎาคม 2552