จากเชลยสงคราม สู่เจ้าของที่ดิน ชีวิตและการดิ้นรนของ “แขก” ทุ่งรังสิต

ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2566 นำเสนอบทความ จากเชลยสงครามในประวัติศาสตร์เชิดชูท้องถิ่น สู่เจ้าของที่ดิน ชีวิตและการดิ้นรนของ “แขก” ในทุ่งรังสิต โดย ผศ.ดร. นนทพร อยู่มั่งมี

สงครามระหว่างสยามกับรัฐปัตตานีรวมถึงรัฐมลายูอื่นๆ ในอดีต คือรูปแบบของสงครามตามแบบจารีต สงครามที่หวังเพียงให้รัฐต่างๆ ยอมรับอำนาจการปกครองในส่วนกลาง สิ่งหนึ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงคือ การกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สิน

บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลหลักฐานให้เห็นถึงความไม่มีความจำเป็นที่สยามจะต้องทารุณโหดร้ายกับไพร่พลต่างบ้านต่างเมืองเหล่านี้ อีกทั้งภายหลัง “แขก” มลายูที่ถูกกวาดต้อนในอีกหลายสิบปีต่อมากลับมีโอกาสจับจองที่ดิน เป็นเจ้าของที่ดิน และมีการตั้งถิ่นฐานการะจายออกไปมากขึ้นอันเป็นผลจากธุรกิจที่ดินเชิงพาณิชย์ของเอกชนในโครงการทุ่งรังสิต ในสมัยรัชกาลที่ 5

การดำรงชีพของ “แขก” ในทุ่งรังสิต มิได้แตกต่างไปจากราษฎรที่ต้องเผชิญกับการต่อสู้และดิ้นรนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำสงครามระหว่างรัฐเช่นที่บรรพบุรุษของพวกเขาเหล่านั้นต้องเผชิญ แต่ชีวิตและการดิ้นรนเกิดจากสิ่งใด อ่านได้จากบทความนี้ โดย ผศ.ดร. นนทพร อยู่มั่งมี

นอกจากนี้ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2566 ยังมีบทความน่าสนใจอื่นๆ

  • เปิดกติกาสัญญาไทย – ญี่ปุ่น มหามิตรสมัยสงคราม “ร่วมมือ” แต่ไม่ “ร่วมรบ” โดย ไกรฤกษ์ นานา
  • นางข้าหลวงชาวกะเหรี่ยงแห่งเมืองทองผาภูมิ “คนัง 2” แห่งราชสำนักสยาม โดย อภิลักษณ์ เกษมผลกูล
  • “ไซอิ๋ว” กับคุณค่าจิตรกรรมจีนเล่าเรื่องในโรงเจเก่า ณ วัดพระพุทธบาทฯ จังหวัดสระบุรี โดย สวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล

เริ่มคอลัมน์ใหม่ : คอลัมน์ “คนและหนังสือ” โดย อาทิตย์ ศรีจันทร์ และ คอลัมน์ “Animal History” โดย กำพล จำปาพันธ์

Advertisement