แรกมี “คลองมหาสวัสดิ์” คลองแห่งพระราชศรัทธาของรัชกาลที่ 4

คลองมหาสวัสดิ์ บริเวณวัดสาลวัน ไม่ระบุปีที่ถ่าย (ภาพจากหนังสือ มหาสวัสดี 150 ปี มหานทีพระราชทาน, โครงการศิลปศาสตร์อาสา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2553)

สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชวงศ์จักรีทรงมีพระคุณูปการต่อพสกนิกรมาทุกรัชกาลด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวจึงทำให้พระราชอาณาจักรสยาม (ไทย) มีความสงบสุขร่มรื่นร่มเย็นภายใต้พระบรมโพธิสมภารตราบเท่าถึงปัจจุบัน

พระคุณูปการที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเหล่านั้นย่อมมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งของพระองค์เองและพสกนิกรของพระองค์ ในส่วนที่เป็นของพระองค์เองนั้นด้วยทรงศึกษาหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้งจึงทรงมีพระราชหฤทัยน้อมไปเพื่อการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้สถิตถาวรดำรงอยู่ ดังเช่น พระราชนิพนธ์กลอน เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ความว่า ตั้งใจอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนแลมนตรี เป็นต้น

Advertisement

จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นรัชสมัยที่เริ่มมีการเปิดพระราชอาณาจักรต้อนรับความหลากหลายเชิงพหุวัฒนธรรมในมิติต่าง ๆ เช่น มิติด้านการศึกษา มิติด้านการปกครอง และมิติด้านการศาสนา เป็นต้น

แต่ในส่วนที่เป็นพระราชศรัทธาอันเกี่ยวเนื่องกับมิติด้านการศาสนานั้น สิ่งหนึ่งที่จะนำมากล่าวคือคลองแห่งพระราชศรัทธาที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ได้ทรงมีพระราชหฤทัยมาตั้งแต่ครั้งเสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุมีพระราชฉายาในทางพระพุทธศาสนาว่าวชิรญาโณซึ่งพระองค์ได้เสด็จจาริกธุดงค์มาพบพระปฐมเจดีย์อันมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ จนเมื่อทรงลาผนวชแล้วสืบครองพระบรมราชสมบัติก็มิได้ละเลยพระราชศรัทธาที่จะกลับไปทำนุบำรุงพระปฐมเจดีย์องค์นั้นให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง

ครั้นวันที่ 13 กันยายน .. 2402 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) และพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เป็นแม่กองจ้างของชาวจีนเริ่มขุดคลองเริ่มต้นจากคลองลัดบางกรวย หรือ คลองบางกอกน้อย ใกล้วัดชัยพฤกษมาลา ไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับเขตตลิ่งชันกับเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ผ่านอำเภอพุทธมณฑล ไปออกแม่น้ำท่าจีน ที่ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมความยาว 28 กิโลเมตร แล้วเสร็จเมื่อวันที่พฤษภาคม .. 2403 ถือเป็นคลองที่มีความกว้างในสมัยนั้น คือกว้างวา หรือ 14 เมตร ใช้เงินทั้งสิ้น 1,101 ชั่ง 10 ตำลึง เป็นเงินพระคลังมหาสมบัติ 100 ชั่ง เงินบริจาคเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ชั่ง 1- ตำลึง อีก 1,000 เป็นของท้าวเทพอากร (เงิน) ที่ถูกริบเข้าพระคลังมหาสมบัติ

เมื่อเป้าหมายของคลองพระราชศรัทธาสายนี้เสร็จแล้วได้เชื่อมกับคลองเจดีย์บูชาจากแม่น้ำนครชัยศรีถึงวัดพระปฐมเจดีย์ทำให้ร่นระยะทางได้ใกล้ขึ้น ตามที่ปรากฏในวารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (เพลินพุทธมณฑล, 2558 : 4) ดังนี้

จนในปีพุทธศักราช 2405 หลังจากที่ขุดคลองเสร็จแล้วปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ล้นเกล้ารัชกาลที่จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อคลองที่ขุดใหม่ว่ามหาสวัสดีเพื่อให้คู่กันกับคลองเจดียบูชาดังความปรากฏในหมายรับสั่ง รัชกาลที่ความว่า

อนึงเวลาบ่าย 4 โมงเสท นายนอยตำรวจวังมาสังวา ด้วยเจ้าพระยารวิวงษมหาโกษาธิบดีรับพระบรมราชโองการไสเกลาฯ ทรงพระกรุณาโปรฎเกล้าฯ ดำรัษเหนือเกล้าสังวาคลองวัดไชยพฤกษมาลาขุดทลุออกไปลำแม่ลำเมือง ณคอรไชศรีนั้น ยังหาไดพระราชทานชื่อคลอง บัดนีพระราชทานชื่อว่า คลองมหาสวัสดีจะไดคูกันกับคลองเจดีย


ที่มา :

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล (บรรณาธิการ). (2558). เพลินพุทธมณฑล. วารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2558 มกราคม 2559)

คลองมหาสวัสดิ์สำนักงานเขตทวีวัฒนา (bangkok.go.th). (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564.


เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 7 เมษายน 2564