ฝรั่งบันทึกเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ “พระสงฆ์” สมัยรัชกาลที่ 3

ภาพพระสงฆ์ในจิตรกรรมฝาผนังภายในหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร

เมื่อ พ.ศ. 2383 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นายเฟรริค อาร์เธอร์ นีล ชาวอังกฤษที่รักการท่องเที่ยว และการแสวงหาความรู้ เดินทางมายังกรุงเทพฯ นายนีลยังเข้ารับราชการในกรมทหาร ตำแหน่งราชองครักษ์เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)

แต่ที่สำคัญคือ งานเขียนเกี่ยวกับเมืองไทย ในมิติต่างๆ ของเขา

หนังสือของนายนีลชื่อว่า “Narrative of a Residence in Siam”  ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2395 (ค.ศ.1852) โดยรวบรวมจากประสบการณ์ตรงที่ได้พบเห็น และค้นคว้าอ้างอิงเพิ่มเติมจากหนังสือของชาวต่างชาติ, บาทหลวงที่เดินทางเข้ามาไทยก่อนหน้า หนังสือของเขาได้แปลเป็นภาษาไทยโดยเรือเอกหญิงลินจง สุวรรณโภคิน  ใช้ชื่อว่า “ชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงสยามในทรรศนะของชาวต่างประเทศ ระหว่างพ.ศ. 2383-2384 (ค.ศ. 1840-1841)” (กรมศิลปากร 2525) ซึ่งขอคัดนำเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ชื่อ “ข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ในกรุงสยาม” มานำเสนอ (โดยมีจัดย่อหน้าใหม่ และสั่งเอนตัวอักษรเพื่อสะดวกในการอ่าน)

จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

บทความนี้เพราะทำให้เห็นถึงวัตรปฏิวัติของพระสงฆ์ในอดีต, ทัศนะและความคิดเห็นของชาวต่างชาติต่อพระสงฆ์ในแบบของคนนอก ฯลฯ รวมถึงการแปลที่พยายามคงความเดิมตามภาษาอังกฤษ ของ เรือเอกหญิงลินจง สุวรรณโภคิน-ผู้แปล “แต่  ที่ว่าก็ ล้วนทำให้บทความส่วนนี้น่าสน และอ่านสนุก

ข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ในกรุงสยาม [1]

ลูแบร์[ลา ลูแบร์]เคยแปลข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ในกรุงสยามไว้ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือนี้เป็นส่วนที่ข้าพเจ้าคัดเลือกมา บางข้อข้าพเจ้าก็เว้นเสีย เพราะเห็นว่า มีหลายข้อหลายประการที่การปฏิบัตินั้น “ออกจะผิดธรรมดา” ส่วนที่อยู่ในวงเล็บนั้นคือที่เป็นคําแปลของลูแบร์ ข้อปฏิบัตินั้นมีดังนี้คือ.

ไม่ฆ่าคน (ไม่เพียงแต่ฆ่าเท่านั้น แต่ต้องไม่ทุบตีใครด้วย)

ไม่ลักขโมย

ไม่สรรเสริญตนเอง หมายความว่าเมื่อท่านได้รับความเคารพนับถือจากผู้อื่นแล้ว (ทุกๆ คนที่มิได้เป็นพระสงฆ์ ไม่อาจเป็นผู้ที่ควรเคารพได้ นั่นก็คือ เขาไม่อาจบรรลุถึงขั้นแห่งบุญกุศล)

ไม่ขุดคุ้ยดิน (ข้อบัญญัตินี้กําหนดขึ้นเพื่อความเคารพนับถือแปลกๆ เพื่อแสดงว่า แผ่นดินนั้นเป็นของเราทุกคน)

ไม่เป็นเหตุให้ต้นไม้ต้นหนึ่งตาย (ห้ามเพื่อมิให้ไปตัดกิ่งไม้ด้วย)

ไม่ฆ่าสัตว์

ไม่ดื่มของมึนเมา

ไม่กินข้าวหลังอาหารค่ำ (เขาอาจกินผลไม้ได้ในตอนค่ำ และเคี้ยวหมากได้ตลอดวัน)

ภาพพระสงฆ์ในจิตรกรรมฝาผนังภายในหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร

ไม่เอาใจใส่ต่อเสียงเพลง เต้นระบํารำฟ้อน หรือแม้แต่เล่นดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง

ไม่ใช้เครื่องหอม

ไม่นั่งหรือนอนในที่ซึ่งสูงกว่าผู้มีอาวุโสกว่า

ไม่เก็บข้าวของเงินทอง (ห้ามมิให้จับต้อง แต่ข้อนี้ก็ไม่ได้ปฏิบัติตามเคร่งครัด การค้าขายของพระสงฆ์ก็เพื่อค้าให้ร่ำรวย ยิ่งขึ้นและเมื่อเขารวยพอแล้วเขาก็ลาสิกขาและไปแต่งงาน)

ไม่เพลิดเพลินกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับพระศาสนา

ไม่ปฏิบัติกิจที่มิใช่กิจของศาสนา

ไม่ให้ดอกไม้แก่หญิง

ไม่ติดต่อฉันมิตรสนิทกับฆราวาส โดยหวังทานตอบแทนจากเขา

ไม่หยิบยืมจากฆราวาส

ไม่ให้กู้ยืมทรัพย์ ดาบ หรืออาวุธที่ใช้ในการสงครามชนิดใด ๆ

ไม่กินอิ่มจนเกินไป

ไม่นอนมากจนเกินไป

ไม่ขับร้องบทเพลง

ไม่เล่นเครื่องดนตรีชนิดใด ๆ ละเว้นกีฬาทุกชนิดและไม่ให้สนุกสนานด้วย

ไม่ตัดสินว่าเพื่อนบ้านดีหรือไม่ดี หมายความว่า เขาเป็นคนดีหรือสิ่งนี้เลว

ไม่แกว่งแขนเวลาเดิน (ข้อนี้ปฏิบัติตามกันน้อยมาก)

ไม่ปีป่ายต้นไม้ (เหตุผลของกฎข้อนี้ก็คือ เกรงว่าจะทําให้ไม่ได้หัก)

ไม่ทํากระเบื้องแตกหรือเผาไม้ (ข้อนี้ไม่สมควรสําหรับแผ่นดินและต้นไม้ เพราะการทํากระเบื้องแตกก็เท่ากับทําเมล็ดข้าวแตกและเป็นการกระทําผิดถ้าทําลายป่าไม้)

ไม่กะพริบตาแสดงความเจ้าชู้ และไม่มองด้วยความดูถูก

ไม่ทํางานด้วยเห็นแก่เงิน (พระสงฆ์ควรอยู่ด้วยสิ่งบริจาค และไม่อยู่ด้วยการทํางานด้วยมือของเขาเอง)

ไม่มองดูพญิงเพื่อความเจริญตาของตน

ไม่ทําให้เกิดบาดแผลจนเลือดออก

ไม่ซื้อและขายสิ่งใดๆ

ไม่ทำเสียงเวลาฉันอาหาร คือเสียงจั๊บจั๊บ เหมือนสุนัข (เสียงนี้ไม่ค่อยน่าฟังนัก ซึ่งบางคนเวลาเดียวอาหารช้า และเรียบร้อยมักชอบทําเสียงนี้)

ไม่นอนในที่ซึ่งเปิดเผยที่แลเห็นได้

ไม่ได้ยาที่มีพิษ (ทั้งนี้เพราะเป้นเรื่องอันตรายถึงตาย ถึงอย่างไรก็ไม่ได้ห้ามมิให้เรียนวิชาแพทย์ ตรงกันข้ามพวกพระสงฆ์กลับฝึกหัดศึกษากันมากมาย ด้วยเหตุนี้ชาวสยามจึงพากันนินทาเมื่อเห็นพวกมิชชันนารีรักษษโรคด้วยา และยังมีใจกว้างขวางยอมอดทนและรักษาพวกเขาเสียอีก นับเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรให้พวกมิชชันนารีได้รักษาพยาบาลคนไข้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะด้วยทางยาหรือด้วยสิ่งมหัศจรรย์)


[1] การแปลบทนี้ ผู้แปลพยายามรักษาข้อความเดิมที่ผู้แต่งเขียนไว้เป็นภาษาอังกฤษให้มากที่สุด จึงมิได้เปลี่ยนแปลงให้ตรงกับข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในพุทธศาสนาจริงๆ เพราะ ถ้าจะเขียนให้ตรงตามพระวินัยจริงๆ เราก็จะไม่เข้าใจว่าผู้แต่งเข้าใจเรื่องราวของพระสงฆ์ ในสมัยนั้นไปในรูปใด แต่เราก็พอเข้าใจว่าที่ผู้แต่งเขียนขึ้นนี้ก็คือส่วนหนึ่งของศีล 5 ศีล 8 และศีล 227 ข้อของพระสงฆ์ – ผู้แปล


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 9 สิงหาคม 2562