“นางสีดา” งามแค่ไหน ถึงเป็นเมียพระรามที่ครบเครื่อง คนรบกับยักษ์แย่งชิงกันมาครอง

นางสีดาลุยเพลิงถวายสัตย์ต่อพระราม จิตรกรรมฝาผนังภายในพระระเบียงคดห้องที่ 111 ที่อยู่รอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

“นางสีดา” อีกหนึ่งตัวเด่นในวรรณคดีนั้นงามแค่ไหน ถึงเป็นเมียพระรามที่ครบเครื่อง คนรบกับยักษ์แย่งชิงกันมาครอบครอง

เรื่องราวในวรรณคดีว่าด้วยการสงครามรบฆ่าฟันกันโดยมีเหตุปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากเรื่องสตรีล้วนปรากฏให้เห็นกันหลายเรื่อง นางสีดาก็ย่อมเป็นอีกหนึ่งหญิงงามในวรรณคดีที่งามเลื่องลือไปสามโลก ขั้นคนรบกับยักษ์เพื่อแย่งกันมาครอบครอง

Advertisement

นิวัติ กองเพียร คอลัมนิสต์ผู้ช่ำชองเรื่องความงามบรรยายถึงความงามของนางสีดาไว้ว่า เพียงแค่เล่าถึงความงามของนางสีดาให้ฟังโดยยังไม่ทันเห็นตัว ทุกคนก็แทบจะหลงใหลอยากเห็น พอได้พบหน้าก็ถึงกับ “ลืมทุกสิ่งอย่าง” อยากได้มาเป็นสมบัติของตัวเอง จะใช้วิชามารขั้นไหนก็ทำ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยความสามารถก็ใช้คาถา มีใช้แรงงานคนเป็นหมื่นเป็นแสนยกทัพไปแย่งชิง โดยมีเหตุผลเรื่องอยากได้ความงามอันยิ่งใหญ่

“เสน่ห์ของนางสีดานั้นอบอวลครบเครื่องอยู่ในเรือนกายทุกขุมขน เมื่อคราวนางเบญกายแปลงเป็นนางสีดาลอยตามน้ำมานั้น พระรามเห็นเข้าก็ถึงกับ

พระช้อนเกศขึ้นวางตัก
พิศพักตร์แล้วรับขวัญ
ยิ่งคิดยิ่งกระสัน
ยิ่งโศกเศร้าในวิญญาณ์

เมื่อพระรามได้นางสีดาเป็นเมียแล้ว ตอนที่เข้าห้องนางสีดาก็รำพึงว่า

…งามพักตร์ดั่งดวงศศิธร   งามขนงโก่งงอนดั่งเลขา
งามเนตรดั่งเนตรมฤคา      งามนาสิกแฉล้มงามกรรณ
งามจริตกิริยาวิลาวัณย์      สารพันพริ้มพร้อมทั้งกายา
ยิ่งพิศยิ่งคิดสวาทกลุ้ม       ให้รุมรึงในความเสน่หา…”

(ตอนที่พระรามเข้าไปพบ ในห้องนางสีดาย่อมต้องเปลือยอยู่ ทอดกายอันงดงามเห็นทุกส่วน)

“ดำน้ำลุยเพลิง” วิธีพิจารณาคดีความสมัยโบราณของไทย สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือผู้พิพากษา

นิวัติ กองเพียร ยังเล่าว่า ส่วนทศกัณฐ์เมื่อได้ยินนางสัมนักขาชมนางสีดาให้ฟังก็แทบสำลักความงามของนายตาย เมื่อพบด้วยตัวเองก็ยิ่งกระสันรัญจวน ชื่นชมนางสีดาด้วยตาเปล่าทุกส่วนสัด หน้าตา คิ้ว แม้แต่ฟันก็ยังดูสวย ดูแล้วเกิดอยากได้ขึ้นจับใจ

“ยิ่งพิศยิ่งเพลินจำเริญนัก พระยายักษ์ครวญคิดพิสมัย”

พลังของความงามแห่งหญิงคงไม่ใช่ปรากฏแค่ในวรรณคดี มีปรากฏแย่งชิงกันมาทั้งโลกจนเกิดเป็นวรรณคดียิ่งใหญ่ เป็นสงครามล้างโลก ล้างเผ่าพันธุ์


เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 31 มีนาคม 2563