เขาพระสุเมรุ ในงานศิลปกรรม

จิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี

 

เขาพระสุเมรุ คืออะไร

เขาพระสุเมรุ คือ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์เป็นแกนจักรวาลในอุดมคติโบราณ มักจะพบในงานช่างโบราณประเภทต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม จึงนำข้อมูลมาเสนอดังนี้

จิตรกรรมฝาผนัง  อุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี ศิลปะสมัยอยุธยา มีตัวหนังสือปรากฏอยู่กับจิตรกรรม ระบุปี พ.ศ.2277 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ภาพเขาพระสุเมรุปรากฏร่วมกับเขาสัตบริภัณฑ์เสมอ จึงเป็นอันสมบูรณ์ตามสาระสำคัญว่าด้วย เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางจักรวาล โดยที่เขาสัตบริภัณฑ์คือเจ็ดเขาวงแหวน โอบล้อมเขาพระสุเมรุเป็นลำดับ ตั้งแต่วงในสุดสูงใหญ่รองจากเขาพระสุเมรุ ไล่เรียงลดความสูงใหญ่ลงเป็นลำดับจนถึงวงนอกสุด นายช่างเขียนภาพเขาพระสุเมรถกับเขาบริวารให้เป็นแท่งตั้ง จึงเห็นภาพเขาพระสุเมรุสูงเด่นเป็นประธานอยู่กลาง

ตู้พระธรรม เขาพระสุเมรุ บนตู้ลายทอง (ตู้พระธรรม) ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา ศิลปะสมัยอยุธยาตอปนลาย ปลายพุทธศตวรรษที่ 23

ตู้ลายทอง (ตู้พระธรรม) ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา

แนวความคิดเดียวกับภาพจิตรกรรมจากวัดเกาะแก้วสุทธาราม แต่เพิ่มเติมความน่าสนใจที่ส่วสนล่างของภาพด้วย คือเรื่องราวของป่าหิมพานต์และประชากร เช่น มีภาพสระอโนดาต ซึ่งหนังสือโบราณเล่าว่า แวดล้อมด้วยภูเขาหิมพานต์ 5 เขาที่ยอดโน้มลงมาปกคลุมสระนี้ไว้ น้ำในสระอโนดาตไม่เคยเหือดแห้ง แม้ไหลออกไปโดยปากช่องทั้งสี่คือ ปากราชสีห์ ปากช้าง ปากม้า ปากโค ก็ตามที

ประติมากรรมสำริด ปิดทอง เขาพระสุเมรุ ภายในวัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน สันนิษฐานว่า หล่อเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ผ่านนับว่า มีปราสาทสีทองเป็นประธานอยู่เหนือวงแหวนเจ็ดวง (คือเขาสัตบริภัณฑ์) รูปแบบการนำเสนอเช่นนี้นับว่าแปลกเป็นพิเศษ อนึ่ง วงแหวนทั้งเจ็ดมีรูปนูนต่ำเป็นโขดเขา ป่าไม้ซึ่งมีรูปแบบเอื้อต่อการคะเนอายุการสร้างที่กล่าวข้างต้น

เขาพระสุเมรุ ภายในวัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน

(ข้อมูลและภาพประกอบจากหนังสือ งานช่าง คำช่างโบราณ เขียนโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม. พิมพ์โดย สนพ.มติชน,2557.)