นายพลญี่ปุ่นอ้าง เชลยแถบเมืองกาญจน์ตายเยอะเพราะ “อหิวาต์” ใช่ว่าญี่ปุ่นไร้มนุษยธรรม

สะพานข้ามแม่น้ำแคว ฉากสำคัญในภาพยนตร์เรื่อง “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” (The Bridge on the River Kwai) สร้างข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ที่บ้านท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

“…ก่อนหน้านั้นเมื่อข้าพเจ้าได้ฟังข่าวว่ามีอหิวาต์ระบาดที่บ้านนิเถ ข้าพเจ้าก็ได้ไปพบกับนายกฯ พิบูลสงครามที่ทำเนียบสามัคคีชัย มีเสนาธิการยามาดะติดตามไปด้วย

นายพลนากามูระ เข้าพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบสามัคคีชัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2486

เมื่อข้าพเจ้าได้รายงานข้อเท็จจริงที่น่าเศร้าใจนั้นแล้ว นายกฯ พิบูลสงครามได้แสดงอาการตกใจ บอกว่าเขาจะให้ความร่วมมือทุกอย่าง ขอให้พยายามอย่างดีที่สุด และทางฝ่ายไทยได้ประกาศเขตโรคระบาดตั้งแต่กาญจนบุรีไปทางทิศตะวันตก และตั้งด่านตรวจโรคในเขตจังหวัดกาญจนบุรีขึ้นด้วย ทำการตรวจตราอย่างเคร่งครัด และได้ออกคำสั่งให้ฉีดยาป้องกันแก่ประชาชน

ข้าพเจ้าได้ไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจที่โรงพยาบาลชั่วคราวของผู้ป่วยอหิวาต์เชลยศึกในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นเดือนที่มีผู้ป่วยสูงสุด แต่ก็ได้เสียใจว่ามีคนตายถึงห้าพันกว่าคน และเกือบทั้งหมดนั้นเป็นเชลยศึกและกรรมกรมลายู

สิ่งที่กล่าวมานี้กลับกลายมาเป็นหัวข้อในการโฆษณาของฝ่ายตรงข้ามว่าญี่ปุ่นไร้มนุษยธรรม

ผลที่สุดหลังสงครามยุติแล้ว มีนายทหารญี่ปุ่นถูกจับกุมในฐานะอาชญากรสงครามและถูกประหารชีวิตไปเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้น่าเสียใจอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าขอแสดงความระลึกถึงต่อผู้เสียชีวิตทั้งหมดในโอกาสนี้ด้วย…”

นายพลนากามูระ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย


หมายเหตุ: คัดตอนหนึ่งจากบทความ “แฉ-ทางรถไฟสายมรณะ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ความทรงจำของนายพลนากามูระ ‘ผู้บัญชาการชาวพุทธ’ สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา” แปลโดย เออิจิ มูราชิม่า, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2546


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2560