“ยี่เป็ง” เทศกาลเดือนสองของล้านนา ตรงกับ “เพ็ญเดือนสิบสอง” ของคนภาคอื่นๆ

กระทงรูปพระรามทรงรถของเขตการทางเชียงใหม่ (ไม่ทราบปี) ออกแบบและจัดสร้างโดย อาจารย์นิกร อักษรพรหม ครูศิลปะ ยุพราชวิทยาลัย

ลอยกระทงเป็นงานรื่นเริงอย่างหนึ่งของคนไทย มีกำหนดจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของทุกปี ซึ่งในช่วงเวลานี้น้ำจะหลากเอ่อล้นไปทั่วฝั่งแม่น้ำลำคลอง ดังคำโบราณว่าเดือน ๑๑ น้ำนอง เดือน ๑๒ น้ำทรงแต่ทางภาคเหนือของไทยซึ่งเดิมเรียกว่าภาคพายัพนั้นกลับจัดประเพณีลอยกระทงกันในวันเพ็ญเดือนยี่ หรือที่เรียกกันว่า วันยี่เป็ง คำว่า เป็งในภาษาเหนือนั้นตรงกับคำว่าเพ็ญ ในภาษาภาคกลาง ส่วนยี่ นั้น คือ เดือนยี่หรือเดือนที่ ของปี สาเหตุที่การลอยกระทงในภาคเหนือต้องมาตกอยู่ในเดือนยี่เป็นเพราะ “…เมืองลาวเฉียงไม่ได้ใส่อธิกมาศสักสองปี…” จึงทำให้เดือนของภาคเหนือนั้นเคลื่อนไปจากภาคกลางถึง เดือน 

แม้จะเรียกชื่อวันและเดือนต่างกัน แต่คนไทยในภาคเหนือก็ยังคงจัดงานลอยกระทงในวันเดียวกันกับคนไทยภาคอื่นๆ จะมีที่ต่างอยู่บ้างก็ประเพณีลอยกระทงของจังหวัดเชียงใหม่ที่จัดกันถึง ๒ วัน คือ ในวันเพ็ญและวันแรม ๑ ค่ำเดือนยี่เหนือ 

ภาพประกอบเนื้อหา – นักท่องเที่ยวปล่อยโคมในช่วงเทศกาลยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2561 ภาพจาก LILLIAN SUWANRUMPHA / AFP

ที่มา: บางส่วนจากบทความ “ประเพณียี่เป็ง (ลอยกระทง) จังหวัดเชียงใหม่” โดย วรชาติ มีชูบท ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2559


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2559