เขียนคำว่า “ศพ” ผิด ระวังหัวล้าน รัชกาลที่ 4 ทรงแช่ง!

รัชกาลที่ 4 วิ่งเต้นติดสินบน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ที่หน่วยงานราชการรวบรวมจัดเก็บนั้น บ่งบอกถึงสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองการปกครองในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ประกาศหลายฉบับแสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ในราชสำนัก ไม่เว้นแม้แต่การใช้คำว่า ศพ ดังเช่น ประกาศเตือนสติคำที่เรียกซากศพ เมื่อ พ.ศ. 2401 (ปีมะเมียสัมฤทธิศก) ประกาศมีใจความว่า

“ใครๆ คือพระภิกษุในสงฆฤๅนักปราชญ์ แลคนใช้หนังสือแลข้าราชการผู้จะกราบทูลจงทราบแน่เถิด ว่าคำเรียกทรากผีว่าศพนั้นถูกต้องแล้ว ให้ใช้เขียนหนังสือแลกราบทูลว่าศพอยู่นั้นแล

ใครอย่าอุตริคิดตามชาววัดคิดล้นไป เขียนบ้างกราบทูลบ้างว่า “อสุภ อสภ อาสภ” อย่างใดๆ อย่างหนึ่งเลย ถ้าใครขืนว่าอสภ อาสภ ดังนั้น ในหลวงทรงแช่งไว้ว่าให้ศีร์ษะคนนั้นล้านเหมือนหลวงตาในวันโกนเปนนิจนิรันดรไป

ถ้าใครเขียนแลกราบทูลว่าศพตรงๆ แล้ว ทรงพระอธิษฐานอวยพรผู้นั้นว่า ถ้าศีร์ษะล้าน ให้ผมงอกดก ถ้าไม่ล้านก็อย่าให้ล้านเลย คำว่าศพนี้ออกจากคำมคธว่า ฉโวเปนแท้ใช่อื่น ฯ

อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน


อ้างอิง: ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2401-2404) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. องค์การค้าของคุรุสภา, 2528


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 15 มกราคม พ.ศ.2562