ภาษาสร้างชาติ กรณีตัวอย่าง “ภาษาจีน” ตัวหนังสือบอกเล่าประวัติศาสตร์พันปีของชาติ

“หนึ่งภาพแทนอักษรพันคำ” คำนี้เราท่านคงได้ยินกันบ่อย แต่วันนี้จะไปดูในด้านกลับกันบ้าง เมื่อ “หนึ่งอักษรแทนภาพนับพัน” ตัวหนังสือที่ใช้พูด-อ่าน-เขียน ก็มีพัฒนาการไปตามวิถีชีวิตและผู้คนที่ใช้ภาษานั้น ซึ่ง “ภาษาจีน” ที่ยกมานี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง

ภาษาจีนเป็นหนึ่งในภาษาเก่าของแก่โลกที่ใช้สืบเนื่องกันมาไม่เคยขาดช่วงตลอเวลาดหลายพันปี แต่ประเทศที่มีประชาการ 1,400 ล้านคน มีคนกลุ่มน้อยกว่า 50 กลุ่ม มีภาษาพูด 7 กลุ่มใหญ่ ที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกหลายสิบกลุ่ม

ตัอวอักษรบนโบรารบนกระดองเต่า (ภาพจาก thai.cri.cn)

ก่อนปี พ.ศ. 2462 ภาษาเขียนตามขนบของจีนต่างจากภาษาพูดมาก ภาษาพูดเรียกว่า “ไป๋ฮว่าเหวิน-ภาษาสามัญ” (Modern Chinese หรือ Common Chinese) คือ ภาษาเขียนอย่างภาษาพูดในปัจจุบัน ส่วนภาษาเขียนเรียกว่า “เหวินเหยียนเหวิน-ภาษาคลาสสิก” (Classic Chinese) คือ ภาษาเขียนตามขนบที่สืบทอดกันมา มีต้นเค้าจากตำราของขงจื้อ

ตั้งแต่ราชวงศ์โจว (503 ปีก่อนพุทธศักราช-พ.ศ. 322) ถึงปี 2462 การเขียนหนังสือราชการ, วรรณกรรมส่วนมาก และการสอบจอหงวน ใช้ “เหวินเหยียนเหวิน” ทั้งหมด

ต่อมาสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337-763) ยึดถือภาษาพูและภาษาเขียนจึงต่างกันมาขึ้น และมีพัฒนาห่างมากขึ้นทุกที

ไป๋ฮว่าเหวิน-ภาษาสามัญเปลี่ยนไปตามสภาพสังคมวิถีชีวิต ประชาชน และท้องถิ่น แต่เหวินเหยียนเหวิน-ภาษาคลาสสิกยึดวรรณกรรมแบบฉบับยุคเก่าเป็นหลัก การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็เพื่อให้มีระบบระเบียบ ทำให้ผู้อ่านแม้พูดภาษาคนละถิ่นก็อ่านเข้าใจตรงกัน จึงต้องใช้ไวยากรณ์และศัพท์สำนวนตามแบบแผน ไม่ใช้ศัพท์สำนวนท้องถิ่น กลายเป็นมาตรฐานของภาษาเขียน  ภาษาเหวินเหยียนเหวิน ซึ่งไม่ใช่ศัพท์และอักษรท้องถิ่นจึงเชื่อมร้อยจีนที่พูดภาษาฮั่นถิ่นต่างๆ ให้เกิดสำนึกว่าเป็นชาวฮั่นด้วยกันได้เป็นอย่างดี

แม้เหวินเหยียนเหวินหรือภาษาคลาสสิคช่วยสร้างเอกภาพทางภาษาและชาติพันธุ์ให้จีนมานาน 2,000 กว่าปี แต่ก็เป็นภาษาของปัญญาชน นับวันจะเป็นภาษาในวงที่แคบลง เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการศึกษาของประชาชน

ไป๋ฮว่าเหวิน ซึ่งมีพื้นฐานจากภาษาพูดจึงมีความสำคัญมากขึ้นในปี พ.ศ. 2441 เหล่าปัญญาชนเช่น ดร.ซุนยัดเซ็น, เฉินเทียนหัว, เฉินตู๋ซิ่ว ฯลฯ เสนอให้ยกเลิกเหวินเหยียนเหวิน มาให้ไป๋ฮว่าเหวิน

หลู่ซิ่น

โดยไป๋ฮว่าเหวิน-ภาษาสามัญมีส่วนช่วยแพร่ความคิดปฏิวัติโค้นล้มราชวงศ์ชิงลงในปี พ.ศ. 2454 ความสำคัญของไป๋ฮว่าเหวินมีมากขึ้นจนเมื่อเกิดขบวนการ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 และได้รับการสนับสนุนหลู่ซิ่น และหูซื่อ จนในที่สุดไป๋ฮว่าเหวินเป็นภาษาเขียนอย่างเป็นทางการแทนเหวินเหยียนเหวิน

ไป๋ฮว่าเหวินช่วยทำให้ภาษาจีนกลางพัฒนาและแพร่หลายยิ่งขึ้น

ปัจจุบันแม้ไป๋ฮว่าเหวิน-ภาษาสามัญจะเป็นหลักในการสื่อสารทั่วไปทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน แต่เหวินเหยียนเหงิน-ภาษาคลาสสิกก็ยังมีความสำคัญมาก เพราเป็นภาษาเขียนแบบแผนของจีนมากกว่า 2,000 ปี

วรรณกรรมสำคัญอย่าง “สามก๊ก” ที่แพร่หลายกว่า “ความฝันในหอแดง”, “ซ้องกั๋ง” ก็เพราะใช้กึ่งเหวินเหยียนกึ่งไป๋ฮว่า ทำให้กระทัดรัดสละสลายมาก คนทุกถิ่นอ่านเข้าใจซาบซึ้งได้ดี

อักษร 1 ตัว คำ 1 คำ ที่เห็นก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเหมือนชีวิตคน และสามารถบอกเล่าเรื่องราวของบ้านเมืองนับพันปีได้เช่นกัน

 


ข้อมูลจาก :

ถาวร สิกโกศล. “ภาษาจีน : เส้นทางสร้างชาติ และวัฒนธรรม, นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2549


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ.2561