รัชกาลที่ 4 ทรงปฏิเสธตำนาน “เทวดาสร้าง” พระแก้วมรกต

พระแก้วมรกต ทรงเครื่องสามฤดู
พระแก้วมรกตทรงเครื่องสามฤดู ภาพวาดบนผืนผ้าที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้คณะราชทูตสยามเชิญไปถวายะระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งประเทศฝรั่งเศส (ภาพจากหนังสือพระแก้วมรกต, สำนักพิมพ์มติชน)

พระแก้วมรกต ถูกไขปริศนาตำนานและปาฏิหาริย์การกำเนิด โดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระองค์แรกที่ปฏิเสธตำนาน “เทวดาสร้าง” หรือ “พระอินเดีย” ตามที่เชื่อถือก่อนหน้านี้

โดยทรงพระราชวินิจฉัยไว้ในบทพระราชนิพนธ์ ตำนานพระแก้วมรกต ฉบับสำหรับอาลักษณ์อ่าน ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันสวดมนต์เย็น พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือคำอ่านบูชาพระแก้วมรกตนำพระราชพิธีถือน้ำ ก่อนการอ่านโองการแช่งน้ำนั่นเอง

“เรื่องตั้งต้นมาจนถึงที่นี้ มีเรื่องราวเล่ายืดยาวไปดุจมีคนได้รู้เห็นเป็นแน่ แลความนั้นใครที่มักเชื่อง่ายก็ย่อมเห็นว่าเป็นจริง ตามตำนานที่กล่าวมานั้น ที่ไม่เชื่อก็จะคิดวิตกสงสัยไปต่างๆ ว่าพระพุทธรูปองค์นี้แล ฝีมือเทวดาสร้างพระพุทธเจ้ารูปร่างเหมือนอย่างนี้ เป็นฝีมือเทวดาแน่แล้วและจะเป็นที่สงสัยไม่ตกลงกัน ก็ปรกติคนโบราณแรกมีหนังสือขึ้นใช้ ยังไม่มีหนังสือเก่าๆ มาก เมื่อแต่งเรื่องอะไรๆ นึกจะเขียนอย่างไรก็เขียนไปไม่คิดว่านานไปจะมีคนภายหน้าจะมีปัญญาแลสติตริตรองเทียบเคียบมาก จะเชื่อคำของตัวแลไม่เชื่อนั้นไม่ใคร่จะคิด”

“พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” หรือ “พระแก้วมรกต” ขณะมิได้ประดับเครื่องทรง

และทรงพระราชวินิจฉัยว่า “ดูเหมือนว่าจะเป็นฝีมือช่างลาวเหนือโบราณ ข้างเมืองเชียงแสน เห็นคล้ายคลึงมากกว่าฝีมือช่างเมืองอื่น”

ปัจจุบันนี้ (บทความเผยแพร่เมื่อพ.ศ. 2551 – กองบรรณาธิการ) นักวิชาการทางด้านศิลปะล้านนา ก็วิเคราะห์ถึงลักษณะรูปแบบขององค์พระแก้วมรกต ก็สอดคล้องกับพระราชวินิจฉัย

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความ “พุทธคุณพระแก้วรมกต” เขียนโดย ปรามินทร์ เครือทอง ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2551


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 12 กันยายน 2559