“กุหลาบ” คำยืมจากภาษาเปอร์เซีย ที่ดั้งเดิมไม่ได้แปลว่า “กุหลาบ” (?)

สวน กุหลาบ ภาพเขียน บทประพันธ์ Gulistan

คำในภาษาไทยมีคำยืมจากภาษาต่างประเทศอยู่หลายคำ คำจากภาษาเปอร์เซียก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่คนไทยหยิบยืมเอามาใช้แสดงถึงความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน จนทำให้คำเปอร์เซียปรากฏอยู่ในภาษาไทยด้วย หนึ่งในนั้นคือคำว่า “กุหลาบ”

 สุดารา สุจฉายา ผู้เขียนบทความเรื่อง “ประวัติศาสตร์เก็บตกที่อิหร่าน (เปอร์เซีย) ย้อนรอยสายสัมพันธ์จากยุคสุวรรณภูมิถึงปัจจุบัน” (ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มีนาคม 2547) ได้อธิบายว่า

“คำว่า ‘กุหลาบ’ นั้นเป็นคำที่มาจากภาษาเปอร์เซียแต่มิได้หมายถึงดอกกุหลาบอย่างที่เราเรียกขาน หากหมายถึงน้ำดอกไม้ เพราะดอกไม้ในภาษาเปอร์เซียเรียกกุ้ล ( گل ) ส่วนคำว่าน้ำคืออบ ( اب ) เมื่อเรียกน้ำดอกไม้ ก็คือกุล้อบ ( گل اب ) ซึ่งคนไทยออกเสียงเพี้ยนเป็นกุหลาบ และเนื่องจากน้ำดอกไม้ที่ส่งเข้ามาขายติดฉลากเป็นภาพวาดดอกกุหลาบ คนไทยจึงอาจเข้าใจว่าดอกไม้ชนิดนี้เรียกขานเช่นนั้น และโดยแท้จริงแล้วน้ำนั้นก็เป็นน้ำที่กลั่นจากดอกกุหลาบจริงๆ”

ขณะเดียวกันก็มีคำอธิบายอีกแบบหนึ่งที่บอกว่าคำว่า “กุหลาบ” ของไทย น่าจะมาจากคำว่า “กุหลาบ” ในภาษาฮินดี ( गुलाब ) ซึ่งออกเสียง และมีความหมายคล้องกับคำที่ใช้ในภาษาไทยอย่างพอดิบพอดี ฟังดูแล้วก็น่าเชื่อถือมากเช่นกัน

เรื่องนี้จึงน่าจะยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่า “กุหลาบ” เป็นคำไทยที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซียมาใช้ในความหมายที่ผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2561