ตามหาเบื้องหลังของภาพหวิว สมัยรัชกาลที่ 5 ฤๅเป็นภาพหลุดฉบับยุคโบราณ

คำว่าภาพหลุด” ในยุคปัจจุบันอาจจะไม่ฮือฮาเท่ากับคำว่า คลิปหลุด” แต่สำหรับคำว่าภาพหลุดแล้วสามารถเกิดขึ้นในลักษณะที่เจตนาและไม่เจตนา ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเพราะวิวัฒนาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยของการถ่ายภาพ ทำให้ช่างภาพมีภาพหลุดมาโชว์กันได้เสมอๆ

บางภาพช่างภาพสามารถซูมเข้าไปจนเห็นอากัปกิริยาต่างๆ ในลักษณะของภาพแอบถ่าย ทั้งในแนวขบขัน ล้อเลียน และในลักษณะของภาพลามกอนาจารก็มี ในขณะเดียวกัน ภาพหลุดบางประเภทก็เกิดจากความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมากจนใน 1 วินาที กล้องถ่ายรูปสามารถเก็บภาพไว้ได้จำนวนหลายภาพ และอาจจะมีภาพหลุดแบบไม่ตั้งใจเกิดขึ้นได้บ้าง

แต่ภาพหลุดในสมัยโบราณนั้นคงต้องเป็นเหตุบังเอิญจริงๆ เพราะกว่าผู้ถ่ายภาพจะตั้งกล้อง จะเปลี่ยนฟิล์มแต่ละช็อต จนกระทั่งกดชัตเตอร์ในแต่ละเฟรม ล้วนแต่ต้องใช้เวลาในการเลือกความสมบูรณ์ขององค์ประกอบรูปให้มากที่สุด เพราะฉะนั้นภาพหลุดที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจนี้ เป็นภาพที่ต้องเป็นเหตุการณ์ที่บังเอิญเกิดจริงๆ

ในภาพเป็นขบวนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติพระนครจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 (.. 2450) ขณะที่ขบวนเสด็จผ่านถนนราชดำเนินบริเวณผ่านพิภพลีลาในปัจจุบัน โดยตรงกลางภาพจะเห็นผู้หญิงคนหนึ่งห่มผ้าแถบ และผ้าแถบหลุดจนปลายผ้าปลิว แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ ปกติแล้วคนส่วนใหญ่ที่มาเฝ้ารับเสด็จจะห่มผ้าแถบในลักษณะดังกล่าวน้อยมาก ส่วนใหญ่จะใส่เสื้อแขนกระบอกและมีผ้าสไบห่มสำหรับผู้หญิง และผ้าพาดไหล่สำหรับผู้ชาย และเด็กๆ ก็นิยมใส่เสื้อคอกระเช้า เป็นต้น

การถ่ายภาพในการรับเสด็จนิวัติพระนครในครั้งนี้ ช่างภาพส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามารับราชการ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีผู้นิยมเล่นกล้องเป็นจำนวนน้อยอยู่ ส่วนใหญ่จึงมีแต่ชาวต่างชาติและเจ้านายชั้นสูงเท่านั้นที่มีความชำนาญในเรื่องนี้

ผู้ที่นิยมเล่นกล้องในขณะนั้นต่างก็มาเก็บภาพงานอันสำคัญยิ่งเช่นนี้

ในครั้งนั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียกประชุมผู้มีความสามารถในการถ่ายภาพและช่างภาพในพระนคร โดยมีตำแหน่งและรายชื่อของช่างภาพ ปรากฏในหนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ เฉพาะตลอดแนวถนนราชดำเนิน ดังนี้

เวลาเสด็จออกกระบวนแห่ออกจากวัดพระแก้ว พระมนตรีพจนกิจ ถ่ายบนโรงเรียนมหาดเล็ก ประตูวิเศษไชยศรีชั้นใน มิสเตอรสวาสป้อมเขื่อนเพชร มิสเตอรเบียด เวิสบนป้อมเผด็จดัษกร (ถ่ายเมื่อเวลาเสด็จเข้าประตูซุ้ม) มิสเตอรบรุสท้องที่ปรำกรมทหารบก กรมยุทธนาธิการ ท้องสนามหลวง และกรมเสนาธิการ เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา

มิสเตอรคลาก มิสเตอรเบลน่าห้างแบดแมนที่สร้างใหม่ มิสเตอรฮุกก้อ มิสเตอรเบลโฮม มิสเตอรเยกบซันท้องที่ปรำกระทรวงกลาโหม พระนรินทรราชเสนี หลวงนาวาท้องที่ปรำกรม พระยานริศราชกิจ หลวงจิตรจำนงค์วานิชท้องที่ปรำกระทรวงมหาดไทย พระยาจ่าแสนบดี พระยาอมรินทร พระยาราชเสนา พระยามหิบาล พระมนตรีพจนกิจท้องที่ปรำกระทรวงยุติธรรม

พระยาเจริญราชไมตรี หลวงสุนทรา หลวงสุวพิทย์สะพานผ่านฟ้าลีลาศ มิสเตอรแมกเบตท้องที่ปรำกรมเมือง มิสเตอรแบลโฮม มิสเตอรเวดสท้องที่ปรำกรมศึกษา หมอแมกฟาแลน หมอวิลเลมส์ท้องที่ปรำกระทรวงเกษตร์ มิสเตอรทอมซัน มิสเตอรเดอรดัมเบิลตันท้องที่ปรำกระทรวงคลัง กรมหมื่นจันทบุรี หม่อมอนุวงษ์ท้องที่ปรำกระทรวงโยธาธิการ มิสเตอรเดอรลาโรกา มิสเตอรปราวเกอรปรำท้องที่กระทรวงวัง หลวงบุรีวราษฐ หลวงจันทรามาตย์ จมื่นราชานุบาล นายเม

จึงอาจจะเป็นได้ว่า ภาพหลุดดังกล่าวผู้ที่อยู่ประจำในจุดถ่ายภาพดังกล่าวได้แก่ มิสเตอรคลาก และ มิสเตอรเบล คนใดคนหนึ่งส่วนภาพตามที่ปรากฏเป็นภาพในชุดเดียวกันกับที่ได้มีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทอดพระเนตรในเวลาถัดมา ดังที่ปรากฏข้อความในหนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ว่า

ภาพจงใจให้ผ้าหลุดของหญิงสาวในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่จัดท่าจัดทางถ่ายในร้านถ่ายรูป (ภาพจาก Twentieth Century Impressions of Siam)

Messrs R. Lenz and Co. ผู้จัดเรียงภาพต่างๆ และตกแต่งอัลบั้ม ได้รับการทูลเกล้าถวายอัลบั้มและรายชื่อช่างภาพสมัครเล่นทั้งหมดแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อัลบั้มประกอบด้วยภาพทั้งหมดประมาณ 150 ภาพ แสดงรายละเอียดตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จตราด จันทบุรี ปากน้ำ และการเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่งที่กรุงเทพ การตกแต่งต่างๆ การเดินแถวสวนสนามของเหล่าทหาร รวมจนถึงรูปการเฉลิมฉลองที่อยุธยา ภาพทั้งหมดมีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง ภาพซุ้มบางภาพและกระบวนเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังสวนดุสิต จะมีการนำออกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก” 

อัลบั้มภาพดังกล่าว ปัจจุบันถูกเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และภาพนี้เป็นหนึ่งในอากัปกิริยาของการแอบเห็นภาพหลุด” เท่านั้นเอง

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 21 เมษายน 2562