ที่เดียวจบ !!! เที่ยวครบ #เมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียน…การันตีโดย ยูเนสโก

ถ้าเราจะบอกเพื่อนๆ ว่า เมืองที่ได้รับการคัดเลือกจาก ยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ อยู่ในประเทศไทยและเพื่อนบ้านอาเซียนด้วย เพื่อนๆ จะเชื่อมั้ย? เพื่อนๆ จะเชื่อมั้ย?

เรื่องนี้คงต้องขอขยายให้ฟังหน่อยแล้วล่ะ จริงๆ แล้วเนี่ย #เมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียน ที่ได้รับการคัดเลือกจาก ยูเนสโก ประจำปี 2564 มีทั้งหมด 3 เมืองด้วยกัน

โดย 1 ใน 3 เมืองที่ได้รับการคัดเลือกนั้นอยู่ในประเทศไทย ว่าแต่…เมืองที่ว่าคือเมืองอะไร? และ มีดียังไงหนอ? ถึงได้รับการคัดเลือกจากองค์ระดับโลกอย่าง ยูเนสโก มาได้…อยากรู้แล้วใช่ไหม?

แต่ก่อนที่จะเฉลย เราคงต้องมาทำความรู้จักกับ “เมืองสร้างสรรค์” กันก่อนว่ามันคืออะไร? แล้วเค้าคัดเลือกกันยังไง?

“เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) คือ เมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่แสดงออกของความคิดสร้างสรรค์และก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ นำมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กับเมืองนั้นๆ

โดยแบ่ง “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ออกเป็นทั้งหมด 7 สาขา คือ วรรณกรรม (Literature), ออกแบบ (Design), ภาพยนต์ (Film), ดนตรี (Music), หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art), สื่อศิลปะ (Media Arts) และ วิทยาการอาหาร (Gastronomy)

เมืองคูชิง (Kuching) จากมาเลเซีย สาขาวิทยาการอาหาร (Gastronomy) 
Credit ภาพจาก https://kuchingcreativecity.com/ 

ซึ่งหากเรานับย้อนหลังดูจนถึงปัจจุบัน ก็จะพบว่ามีเมืองจากทั่วโลกที่ได้รับการคัดเลือกเป็น “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) แล้วจำนวน 295 เมือง โดยเป็นตัวแทนจากภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด 14 เมือง จาก 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์, ไทย,เวียดนาม และ มาเลเซีย

และอย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า ในปี 2564 นี้ มีเมืองจากภูมิภาคอาเซียนได้รับคัดเลือกด้วยกันทั้งหมด 3 เมือง และ หนึ่งในนั้นก็อยู่ในประเทศไทย

อ่ะ…ลองมาเดากันดูมั้ยครับว่า เมืองที่ได้รับรางวัล “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ของประเทศไทยเรา คือเมืองอะไร? และ ได้รับคัดเลือกในสาขาใด?

แถ่น แทน แถ๊นนน !!! เมืองที่ว่านั้นก็คือ คือ คือออ…..

เมืองเพชรบุรี (Phetchaburi) สาขาวิทยาการอาหาร (Gastronomy) นั่นเองงง…ปรบมือรัวๆๆ

เมืองเพชรบุรี (Phetchaburi) สาขาวิทยาการอาหาร (Gastronomy)
Credit ภาพจาก https://www.phetchaburicreativecity.com/ 

ส่วนอีก 2 เมือง คือ เมืองจาการ์ตา (Jakarta) จากอินโดนีเซีย ในสาขาวรรณกรรม (Literature) และ เมืองคูชิง (Kuching) จากมาเลเซีย ในสาขาวิทยาการอาหาร (Gastronomy)

เมืองจาการ์ต้า (Jakarta) จากอินโดนีเซีย ในสาขาวรรณกรรม (Literature)
Credit ภาพจาก https://jakartabookcity.com/ 

อ้าว…ลืมบอกไปนะว่า เมืองภูเก็ต (Phuket) ก็เคยได้รับเลือกเป็น เมืองสร้างสรรค์ในสาขาวิทยาการอาหาร (Gastronomy) ด้วยนะ    เมืองเพชรบุรี (Phetchaburi) จึงเป็น “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) แห่งที่ 2 ของไทย ที่ได้รับเลือกในสาขาวิทยาการอาหาร (Gastronomy) 

ซึ่งเหตุผลที่ได้รับคัดเลือกของเมืองเพชรบุรีนั้น ท่านคุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

ได้อธิบายให้ฟังเข้าใจอย่างง่ายๆ ว่า เมือง #เพชรบุรี ได้ชื่อว่า “เมืองสามรส” (หวาน เค็ม เปรี้ยว) เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของไทย ซึ่งหาได้ง่ายมากๆ ในพื้นที่ ได้แก่ รสหวานจากน้ำตาลโตนด รสเค็มจากเกลือสมุทร และรสเปรี้ยวจากมะนาวแป้น พอวัตถุดิบดี บวกกับฝีมือปลายจวักของคนเพชรบุรี จึงทำให้อาหารทั้งคาวและหวานของที่นี่อร่อยแตกต่างจากที่อื่น และสามารถหากินได้เฉพาะที่เมืองเพชรบุรีเท่านั้น เช่น แกงคั่วหัวตาล แกงหน่อส้ม ก๋วยเตี๋ยวน้ำแดง ขนมจีนทอดมัน ข้าวแช่ ขนมข้าวฟ่าง ขนมหม้อแกง ขนมตาล 

เมืองเพชรบุรี (Phetchaburi) สาขาวิทยาการอาหาร (Gastronomy)
Credit ภาพจาก https://www.phetchaburicreativecity.com/ 

ส่วนเหตุผลของอีก 2 เมืองอย่าง เมืองจาการ์ตา (Jakarta) จากอินโดนีเซีย ในสาขาวรรณกรรม (Literature) และ เมืองคูชิง (Kuching) จากมาเลเซีย ในสาขาวิทยาการอาหาร (Gastronomy) ก็คือ…

เมือง #จาการ์ตา (Jakarta)

เมืองแห่งนี้นับเป็นศูนย์กลางด้านวรรณกรรมและการอ่านมาอย่างช้านานแล้ว มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของนวัตกรรมการตีพิมพ์หนังสือ ซึ่งทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้คนในเมือง ต่างช่วยกันผลักดันจนการอ่านหนังสือกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว รวมถึงการจัดมหกรรมหรือเทศกาลหนังสือระดับประเทศและระดับนานาชาติอีกด้วยนะ 

เมือง #คูชิง (Kuching)

เมืองที่หลอมรวมเมนูอาหารของชาวซาราวัก จากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ทั้ง มาเลย์ จีน อินเดีย และชนพื้นเมือง ที่ยังคงรักษาคุณค่าดั้งเดิมของอาหารไว้เป็นอย่างดี ทั้งการปรุง และวัตถุดิบที่มีเอกลักษณ์จากป่า แม่น้ำ และทะเล เช่น ทุเรียนซาราวัก แตงกวาดายัก น้ำผึ้ง พริกไทย สาคู โดยเมนูที่เป็นที่นิยม คือ หมี่แห้งซาราวัก ลักซาซาราวัก และแกงปลาทุเรียนหมัก

คงจะพอรู้จัก “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) กันมากขึ้นแล้วใช่มั้ยล่ะครับ? ว่าแต่ “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ในอาเซียนทั้งหมดอยู่ที่ไหน? ได้รับคัดเลือกในสาขาอะไรบ้าง? ทั้งหมดนี้มีคำตอบให้ที่นี่เลย

นิทรรศการ “เมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียน” ณ ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ชั้น 3

นิทรรศการหมุนเวียน ที่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ภายใต้โครงการ “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก” (UNESCO Creative Cities Network) ทั้ง 14 เมือง ในภูมิภาคอาเซียน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการจำลองภาพบรรยากาศ ของเมืองต่างๆ เสมือนเราได้ไปเที่ยวหรือเยี่ยมชมเมืองเหล่านั้นด้วยตัวเอง

เตรียมความพร้อม หาข้อมูล วางแผนการเดินทาง และ ออกเดินทางแบบเสมือนจริงได้แล้ว ที่ นิทรรศการ #เมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียน….อยากให้พวกเราไปเที่ยวด้วยกัน !!!

แล้วก็สุดท้ายนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ฝากเชิญชวนเพื่อนๆ เข้าร่วมและเพลิดเพลินไปกับ “กิจกรรมเมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียน ประจำปี 2564 ณ ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2564” ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายจุดเลยนะ คร่าวๆ ก็ตามด้านล่างนี้เลยจ้า ไม่ว่าจะเป็น…..

การบรรยายและเสวนาในเรื่อง “เส้นทางสู่เมืองสร้างสรรค์” และ “อนาคตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมืองสร้างสรรค์” จากทั้ง 3 เมือง คือ เพชรบุรี ประเทศไทย คูชิง ประเทศมาเลเซีย และจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

และยังนิทรรศการเมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียนทั้ง 14 เมือง ที่ได้รับการคัดเลือกจากยูเนสโกให้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งนำเสนอผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟ และสื่อมัลติมีเดียที่ทันสมัยมากๆ สนุกสนาน เข้าใจง่าย เหมาะกับทุกคน               

รวมไปถึงกิจกรรมสาธิตทำอาหารคาว อาหารหวาน ของเพชรบุรี เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร โดยวิทยากรมากฝีมือ               

สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่สนใจ สามารถติดตามข้อมูลการจัดกิจกรรม ผ่านช่องทาง Facebook Fanpage ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์แห่งอาเซียนไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2565 กันเลยทีเดียวล่ะ ^^

ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน
ชั้น 3 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ / โทรสาร : 0 2224 4279
เว็บไซต์ : www.acc-th.com
อีเมล : [email protected]
เปิดทำการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น. (ปิดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)